แนวคิด
เครื่องมือ Hand tools เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับงานซ่อมเครื่องยนต์ เครื่องมือสำหรับถอดแยกชิ้นส่วน สำหรับปรับตั้ง ซึ่งเป็นงานหลักของการซ่อม ดังนั้นในงานบริการจึงจำเป็นจะต้องศึกษาวิธีใช้เครื่องมือ การในไปใช้งาน ข้อปฏิบัติในการใช้เครื่องมือ และการเก็บบำรุงรักษาในการใช้เครื่องมือต่างๆ นั้นไม่เพียงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและถูกต้องเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
สาระการเรียนรู้
หลักการพื้นฐานของการใช้เครื่องมือ เครื่องมือทั้วไป (Hands tool)
เครื่องมือพิเศษ (Special tool)
เครื่องมือพิเศษ (Special tool)
ข้อปฏิบัติในการใช้เครื่องมือ
ผมการเรียนรู้ที่คาดหวัง
บอกหลักการพื้นฐานการใช้เครื่องมือได้ บอกชื่อและหน้าที่ของเครื่องมือได้ เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานได้ จำแนกประเภทของเครื่องมือได้ บอกข้อปฏิบัติในการใช้เครื่องมือต่างๆ ได้
หลักการพื้นฐานของการใช้เครื่องมือ
การซ่อมเครื่องยนต์ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์หลายชนิด เครื่องมือถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยเฉพาะ เมื่อใช้ถูกวิธีจะช่วยให้มีความแม่นยำและปลอดภัย หลักการพื้นฐานของการใช้เครื่องมือมีดังนี้1. ศึกษาวิธีใช้และหน้าที่ให้ถูกต้อง ศึกษาวิธีใช้และหน้าที่ของเครื่องมือแต่ละชิ้น ถ้าใช้เครื่องมือผิดวัตถุประสงค์นอกเหนือจากที่ระบุไว้ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายกับเครื่องมือและชิ้นส่วน ตลอดจนคุณภาพของงานและอาจทำให้เกิดความเสียหายได้
2. ศึกษาการใช้เครื่องมือให้ถูกกับงาน เครื่องมือและเครื่องมือวัดแต่ละชิ้นมีวิธีการใช้จะต้องให้แน่ใจว่านำไปใช้อย่างถูกต้องและนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงาน
3. เลือกใช้ให้ถูกต้อง มีเครื่องมือหลายชิ้นสำหรับการคล้ายโบลต์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดตำแหน่งและพื้นที่ต่างๆ เครื่องมือจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับชิ้นส่วนและตำแหน่งของชิ้นงาน
4. จัดเก็บให้เป็นระเบียบ พยายามจัดเก็บให้เป็นระเบียบ เครื่องมือและเครื่องวัดควรจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถหยิบใช้ได้ง่าย และจัดวางในที่ที่เหมาะสมเมื่อใช้งานเสร็จ
5. ดูแลเก็บรักษาเครื่องมืออย่างเคร่งครัด เครื่องมือจะต้องทำความสะอาดและทรมานในส่วนที่จำเป็นหลังจากที่นำไปใช้งาน ถ้าเครื่องมือชำรุดควรซ่อมแซมทันทีเพื่อให้เครื่องมือจะได้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
2. ศึกษาการใช้เครื่องมือให้ถูกกับงาน เครื่องมือและเครื่องมือวัดแต่ละชิ้นมีวิธีการใช้จะต้องให้แน่ใจว่านำไปใช้อย่างถูกต้องและนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงาน
3. เลือกใช้ให้ถูกต้อง มีเครื่องมือหลายชิ้นสำหรับการคล้ายโบลต์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดตำแหน่งและพื้นที่ต่างๆ เครื่องมือจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับชิ้นส่วนและตำแหน่งของชิ้นงาน
4. จัดเก็บให้เป็นระเบียบ พยายามจัดเก็บให้เป็นระเบียบ เครื่องมือและเครื่องวัดควรจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถหยิบใช้ได้ง่าย และจัดวางในที่ที่เหมาะสมเมื่อใช้งานเสร็จ
5. ดูแลเก็บรักษาเครื่องมืออย่างเคร่งครัด เครื่องมือจะต้องทำความสะอาดและทรมานในส่วนที่จำเป็นหลังจากที่นำไปใช้งาน ถ้าเครื่องมือชำรุดควรซ่อมแซมทันทีเพื่อให้เครื่องมือจะได้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
เครื่องมือทั่วไป Hands tool
เครื่องมือทั่วไปหมายถึงเครื่องมือที่ใช้ทำงานสำหรับขัน ตอก คลาย ซึ่งเครื่องมือทั่วไปที่ใช้กันบ่อยในงานซ่อมรถยนต์มีดังนี้
1.ประแจแหวน Box wrench
ขนาด: ประแจแหวนมีหลายขนาด ขนาดของประแจแหวนจะมีตัวเลขบอกไว้ที่ปลายของประแจสำหรับที่ใช้กันทั่วไปมีตั้งแต่ขนาด 6 ถึง 32 มิลลิเมตร
วัสดุที่ใช้ผลิต: ผลิตมาจากเหล็ก
หน้าที่: ใช้สำหรับขันหรือคลายนัตและโบลต์ ในกรณีที่ประแจกระบอกไม่สามารถนำไปใช้ในส่วนชิ้นงานนั้นได้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าประแจปากตายทั้งนี้เพราะมี จุดสัมผัสของประแจกับโบลต์หรือนัตได้มากกว่า
ลักษณะของประแจแหวน: ประแจแหวนจะมีลักษณะคอโค้งงทำมุม 15 หรือ 45 องศากับด้ามประแจ บริเวณส่วนหัวเป็นลักษณะวงแหวนหรือจุดสัมผัสทั้ง 6 เหลี่ยมและ 12 เหลี่ยม ทำให้สวมเข้ากับหัวโบลต์หรือนัตได้พอดี ประแจแหวน 12 เหลี่ยมสามารถขันหรือคลายโบลต์ ได้ทั้งหกเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม ความยาวของประแจแหวนจะแตกต่างกันไปตามขนาดของโบลต์ ที่จะใช้ ปริมาณของแรงบิดที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับความยาวของประแจ
วัสดุที่ใช้ผลิต: ผลิตมาจากเหล็ก
หน้าที่: ใช้สำหรับขันหรือคลายนัตและโบลต์ ในกรณีที่ประแจกระบอกไม่สามารถนำไปใช้ในส่วนชิ้นงานนั้นได้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าประแจปากตายทั้งนี้เพราะมี จุดสัมผัสของประแจกับโบลต์หรือนัตได้มากกว่า
ลักษณะของประแจแหวน: ประแจแหวนจะมีลักษณะคอโค้งงทำมุม 15 หรือ 45 องศากับด้ามประแจ บริเวณส่วนหัวเป็นลักษณะวงแหวนหรือจุดสัมผัสทั้ง 6 เหลี่ยมและ 12 เหลี่ยม ทำให้สวมเข้ากับหัวโบลต์หรือนัตได้พอดี ประแจแหวน 12 เหลี่ยมสามารถขันหรือคลายโบลต์ ได้ทั้งหกเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม ความยาวของประแจแหวนจะแตกต่างกันไปตามขนาดของโบลต์ ที่จะใช้ ปริมาณของแรงบิดที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับความยาวของประแจ
วิธีใช้งานประแจแหวน
1. เลือกขนาดของแหวนให้พอดีกับหัวนัตหรือโบลต์ ถ้าใหญ่เกินไปจะทำให้มุมนัตหรือโบลต์เสียหายได้
2. สวมประแจแหวนให้ลง แนบสนิทกับหัวนัตหรือโบลต์ แล้วดึงเข้าหา และถ้าจำเป็นต้องพักออกให้ใช้อุ้งมือผลักออกเพื่อป้องกันอันตราย
ประแจปากตายopen end wrench
ขนาด: ประแจปากตายมีหลายขนาดมีเป็นชุดในหนึ่งชุดจะมีหลายขนาดเหมือนกับประแจแหวน วัสดุที่ใช้ผลิต: ผลิตจากเหล็กหล่ออัลลอยด์ เหล็กหล่อเหล็กเหนียว หน้าที่:ใช้สำหรับขันหรือคลาย นัตและโบลต์ ในพื้นที่คับแคบ และแน่นไม่มาก หรือในกรณีที่ประแจแหวนไม่สามารถนำไปใช้ในส่วนชิ้นงานนั้นได้ ลักษณะของประแจปากตาย: ประแจปากตาย ปากของประแจจะเปิดทั้งสองข้าง มีทั้งแบบ 1 ปากและ 2 ปาก โดยแบบ 2 ปาก แต่ละข้างจะมีขนาดแตกต่างกัน ปากของประแจปากตายอกแบบส่วนหัวให้เอียงทำมุม 15 องศากับด้ามทำให้สามารถขันนัตหรือโบลต์ ในพื้นที่แคบแคบได้ง่าย
วิธีใช้งานประแจปากตาย
1. เลือกขนาดของปากประแจให้มีขนาดเท่ากับขนาดของหัวโบลต์หรือนัต ถ้าเลือกขนาดของปากประแจโตกว่าขนาดของหัวนัตหรือโบลต์จะทำให้เกิดความเสียหายหรืออาจขันพลาด ทำให้เกิดอันตรายได้
2. การขันหรือคลายนัตและโบลต์ ให้ดึงเข้าหาตัวเสมอ ไม่ควรใช้วิธีผลักออกเพราะอาจทำให้โบลต์หรือนัตนั้นหลวมอย่างกระทันหันแล้วลื่นเกิดอันตรายกับมือได้ แต่ถ้าจำเป็นก็ให้ใช้ฝ่ามือผลัก 3. ไม่ควรเพิ่มแรงขันหรือคลาย ด้วยการใช้ประแจ 2 ตัวต่อกันหรือใช้ท่อสวมต่อเข้ากับประแจปากตายเพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายกับเกลียวนัตหรือโบลต์ได้
ประแจรวม combination wrench
ลักษณะของประแจรวม ประแจรวมมีลักษณะที่ปลายด้านหนึ่งเป็นแบบปากเปิดเหมือนกับประแจปากตาย และปลายอีกข้างหนึ่งเป็นแบบปากปิดเหมือนกับประแจแหวน ด้านปลายทั้งสองข้างของประแจรวมจะมีขนาดเดียวกัน
หน้าที่ แดนที่เป็นปัจจัยปัจจัยจะใช้ขันหรือคลายนัตและโบลต์เมื่อมีพื้นที่คับแคบ ส่วนใดที่เป็นประแจแหวนจะใช้เมื่อต้องการขันให้แน่นหรือใครออกครั้งแรกซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงมากกว่าประแจปากตาย
ประแจเลื่อน Adjustable wrench
ขนาด ขนาดของประแจเลื่อนกำหนดเป็นความยาวจากหัวถึงด้าม เช่น 100 มม. 150 มม. 200 มม.วัสดุที่ใช้ผลิต ผลิตจากเหล็ก เหล็กเหนียว หน้าที่ ประแจเลื่อนเป็นไปเจอที่สามารถใช้สำหรับงานทั่วไป ปากของประแจเลื่อนมีปากที่เลือก ได้ตามขนาดที่ต้องการ โดยปกติแล้วจะไม่ใช้ขันหรือคลายนัตและโบลต์ ยกเว้นใช้ประแจอีกแล้วปากของประแจเข้าไม่ได้ ไม่ควรใช้ประแจเลื่อนขันนัตหรือโบลต์ที่มีความแม่นมากเพราะว่าแต่จะเจอไม่แข็งแรงอาจทำให้เสียหายได้ ลักษณะของประแจเลื่อน ลักษณะปากของประแจเลื่อนจะคล้ายกับหัวของประแจปากตายแต่สามารถเลื่อนปรับระยะห่างของปากได้พอดีกับขนาดของนัตหรือโบลต์ด้วยการหมุนสกรูปรับตั้ง
วิธีใช้งานประแจเลื่อน
1. ปรับขนาดของปากประแจให้พอดีกับหัวของนัตหรือโบลต์ ถ้าปรับขนาดของปากประแจไม่พอดีจะทำให้มุมของนัตหรือโบลต์เสียหายได้
2.หมุนประแจตามทิศทางหันไปเจอที่มีปากที่ปรับได้อยู่ตำแหน่งที่สามารถขันขึ้นหรือลงได้ ถ้าประแจไม่สามารถหมุนตามนี้ได้จะทำให้เกิดแรงกดดันที่ตัวปรับก่อให้เกิดความเสียหายได้
ชุดประแจกระบอก Socket wrench
ชุดประแจกระบอก ในชุดประแจกระบอกจะประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆดังนี้
ประแจกระบอก socket wrench
ขนาด ประแจกระบอกมีหัวที่ขับเป็นสี่เหลี่ยม มีขนาดตั้งแต่ ¼ นิ้ว ⅜ นิ้ว ½ นิ้ว ¾ นิ้ว 1 นิ้ว วัสดุที่ใช้ผลิต ผลิตมาจากเหล็ก หน้าที่ ประแจกระบอกเป็นประจุที่ต้องใช้ร่วมกับด้ามขับใช้สำหรับขันหรือคลายนัตและโบลต์ ได้ดีที่สุด ขันได้แน่นและไม่ทำให้หัวนัตและโบลต์เสียหาย ลักษณะของประแจกระบอก ประแจกระบอกจะต้องใช้ร่วมกับการขับเครื่องมือแบบต่างๆ การให้เลือกใช้แล้วแต่สภาพของงานประแจกระบอกจะมีหัวขับเป็นสี่เหลี่ยมงูหลายขนาด ส่วนภายในของปากจะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมอยู่ 2 แบบคือแบบ 6 เหลี่ยม กับแบบ 12 เหลี่ยม สำหรับแบบหกเหลี่ยมนั้นจะมีพื้นที่ใหญ่พอที่จะสัมผัสกับโบลต์หรือนัต ทำให้ยากที่จะทำความเสียหายให้กับโบลต์หรือนัดได้ ไม่เช่นความลึกของประแจกระบอกจะมี 2 แบบ คือแบบมาตรฐานและแบบลึกพิเศษ ซึ่งจะลึกกว่ามาตรฐาน 2 หรือ 3 เท่า แบบลึกนี้สามารถนำไปใช้กับโบลต์หรือนัตที่เป็นชนิดที่ใช้กับงานเฉพาะที่ไม่เหมาะกับขนาดประแจกระบอกที่เป็นขนาดมาตรฐาน
2. ด้ามขันยาว Flex handle
ด้ามขันยาวใช้สำหรับขันหรือคลายนัตและโบลต์ที่แน่นมากๆ โดยทั่วไปจะใช้ตอนคลายครั้งแรกและตอนขันให้แน่นครั้งสุดท้าย การนำไปใช้งานต้องต่อด้ามขันกับประแจกระบอกและปรับให้เป็นมุมฉากเพื่อเพิ่มแรงบิดในการขัน เมื่อคลายเริ่มต้นกันขันนัตหรือโบลต์ให้ปรับด้ามขันเป็นแนวเดียวกับประแจกระบอกแล้วหมุนเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการขัน
3. ด้ามขันกรอกแกรก Ratchet handle
ด้ามขันกรอกแกรกภายในมีกลไกลทำให้สามารถขันหรือคายนัตและโบลต์ ทางใดทางหนึ่งและหมุนฟรีในทิศทางตรงกันข้ามทำให้การทำงานในพื้นที่แคบๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วเพราะไม่ต้องถอดประแจกระบอกออกจากนัตหรือโบลต์ทุกครั้งที่ขันหรือคลาย ด้ามขันกรอกแกรกห้ามใช้ขันหรือคลายงานที่ต้องใช้แรงบิดมากๆ เพราะอาจทำให้เป็นใจภายในของกรอกแกรก เสียหายได้ควรใช้เมื่อนัตหรือโบลต์ได้ถูกคลายให้หลวมแล้ว
การใช้งาน เลือกทิศทางการหมุนของด้ามขันกรอกแกรกด้วยการยกปุ่มปรับทิศทางการเคลื่อนที่ การปรับตำแหน่งไปทางขวาเพื่อขันโบลต์และนัดให้แน่น และถ้าปรับไปทางซ้ายเพื่อคลายโบลต์และนัตออก
4. ด้ามขัดตัวที Sliding T Handle
ด้ามขัดตัวที Sliding T Handle มีลักษณะคล้ายตัว “ที” ( T) ใช้สำหรับขันหรือคลายนัดหรือโบลต์ ที่ต้องการแรงกดทั้งสองด้านเท่าๆ กัน สามารถใช้แทนด้ามขันยาวได้แต่เนื่องจากมีขนาดสั้นกว่าด้ามขันยาวจึงใช้ขันได้แรงบิดน้อยกว่า
การใช้งาน ด้ามคันนี้สามารถปรับเลื่อ นได้ 2 แบบ ด้วยการเลื่อนตำแหน่งของรัฐกลับไปด้านท้ายจะเป็นตัว แอล (L) เพื่อเพิ่มแรงบิด และปรับเป็นแบบตัว (T) เพิ่มเพิ่มความเร็วในการหมุน
5.ด้ามขันเร็ว Speed handle
ด้ามขันเร็วมีลักษณะเหมือนสว่าน ด้ามขันแบบนี้ใช้ต่อกับประแจกระบอกสำหรับขันหรือคลายนัตและโบลต์เพื่อความรวดเร็ว แต่นัตและโบลต์จะต้องไม่แน่นเกินไปต้องมีพื้นที่ในการขันกว้างพอที่ด้ามขันจะเคลื่อนที่ได้
6. ก้านต่อ Extension bar
ก้านต่อใช้สำหรับต่อกับประแจกระบอกและด้ามขัน เพื่อใช้ขันนัตหรือโบลต์ที่อยู่ในที่แคบและลึก ก้านต่อมีความยาวหลายขนาดจึงเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานคือเลือกก้านต่อที่สั้นสุดเท่าที่จะทำได้
7. หัวต่อเพิ่ม - ลด Adaptor
หัวต่อเพิ่ม - ลดใช้สำหรับต่อกับประแจกระบอกและด้านที่หัวขับไม่เท่ากัน เมื่อต้องใช้แรงบิดสูงสูงในการขันไม่ควรที่จะใช้ประแจกระบอกขนาดเล็กขันเพราะมีข้อจำกัดของแรงที่จะใช้ในการขัน และอาจทำให้ประแจกระบอกเกิดความเสียหายได้
8.ข้อต่ออ่อน Universal joint
ข้อต่ออ่อนใช้ต่อกับประแจกระบอก ก้านต่อ และด้ามขัน เพื่อเพื่อขันหรือคลายนัตหรือโบลต์ที่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับด้ามขัน ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงชิ้นส่วนที่กีดขวางขณะขัน ข้อต่ออ่อนสามารถเคลื่อนไหวไปข้างหน้า - ข้างหลัง ซ้ายหรือขวาได้ และช่วงข้อต่อกับด้ามจับสามารถปรับเปลี่ยนมุมได้อย่างอิสระทำให้เป็นประโยชน์ในพื้นที่จำกัด
ข้อควรระวัง อย่าใช้ข้อต่ออ่อนในลักษณะที่ด้ามจับเลี้ยงมากๆและอย่าใช้กับเครื่องมือลมเพราะข้อต่ออาจแยกออกจากกันและข้อต่อไม่สามารถรองรับแรงขับได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องมือและชิ้นส่วนของรถได้
6. ประแจกระบอกหัวเทียน Spark plug wrench
ประแจกระบอกหัวเทียน เป็นเครื่องมือใช้เฉพาะถอดหรือประกอบหัวเทียนเท่านั้น ด้านในประแจจะมีแม่เหล็กหรือยางใช้ยึดหัวเทียนให้อยู่คงที่เพื่อป้องกันหัวเทียนหลุดออกขณะถอดหรือประกอบ ประแจกระบอกแบบนี้มีหลายขนาด ดังนั้นในการใช้ควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดหัวเทียน
7.ประแจแอล Allen wrench
ขนาด ประแจแอลจะมีขนาดตั้งแต่ 5 ถึง 30 มิลลิเมตร วัสดุที่ใช้ผลิต ผลิตมาจากเหล็ก หน้าที่ ประแจแอลใช้สำหรับขันหรือคลายสกรูที่มีหัวลึกลงไปเป็นรูปหกเหลี่ยมหรือรูปดาว ซึ่งประแจธรรมดาไม่สามารถเข้าถึงได้ ในการขันควรเลือกใช้ประแจให้พอดีกับรูของหัวสกรูถ้าเล็กเกินอาจทำให้มุมของหัวสกรู และประแจเกิดความเสียหายได้ ลักษณะของประแจแอล ประแจแอลมีลักษณะเป็นแท่ง 6 เหลี่ยมโดยตลอด แล้วโค้งเป็นรูปตัวแอล บางแบบมีส่วนปลายเป็นรูปดาว ประแจแบบนี้จะมีเป็นชุดเหมือนประแจปากตายขนาดของประแจจะบอกไว้ด้านข้างของประแจ
8.ไขควง screwdriver
ไขควงเป็นเครื่องมือในงานช่างกับทุกแขนง และเป็นที่รู้จักกันทั่วๆ ไป อุปกรณ์ชนิดนี้ออกแบบมาเพื่อไขสกรูให้แน่นหรือคลายสกรูออกไขควงทั่วไปประกอบด้วยแท่งโลหะส่วนปลายที่ใช้สำหรับยึดกับสกรู ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันเพื่อให้ใช้ได้กับสกรูชนิดต่างๆ และมีแท่งสำหรับจับคล้ายส่งกระบอกดูอีกด้านหนึ่งสำหรับการไขด้วยมือ หรือไขควงบางชนิดอาจจะหมุนด้วยมอเตอร์ก็ได้ ใครเครื่องทำงานโดยการส่งแรงบิดจากการหมุนไปที่ปลายทำให้สกรูหมุนตามเกลียวเข้าหรือออกจากวัสดุอื่น ไขควงมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ ด้านถือ Handle ด้ามถือส่วนมากทำด้วยไม้ พลาสติก และยางแข็ง
ก้าน Shank มีลักษณะเป็นเหล็กแท่งกลมกลมหรือสี่เหลี่ยม
ปาก Blade มีลักษณะแบนหรือเป็นรูปกากบาทซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดร่องของหัวสกรูไขควงที่นิยมใช้ในงานช่างแบบวงออกเป็น 3 ชนิด
1. ไขควงปากแบน Flat blade screwdriver
ขนาด ขนาดของไขควงนั้นจะกำหนดขนาดตามความยาวของก้าน โดยวัดจากโครงก้านไปจนถึงปลายสุดของปาก มีขนาดตั้งแต่ 1 นิ้ว 1.5 นิ้ว 2.5 นิ้ว 3 นิ้ว 4 นิ้ว 5 นิ้ว 6 นิ้ว 8 นิ้ว 10 นิ้วและ 12 นิ้ว ส่วนความหนาและความกว้างของปากนั้นไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความโตของก้าน หน้าที่ ใช้สำหรับขันหรือคลายสกรูที่มีหัวผ่า ลักษณะของไขควงปากแบน ไขควงปากแบนหรือไขควงแบบมาตรฐาน ปากของไขควงมีลักษณะแบนลาดเอียงไปยังปลายสุดของไขควงและแบน
2. ไขควงปากแฉก Phillips - type screw driver
ขนาด ขนาดของไขควงปากแฉกนั้นจะกำหนดขนาดตามความยาวของก้านเหมือนกับไขควงปากแบน ส่วนปากของไขควงนั้นจะกำหนดเป็นเบอร์ 1 2 และ 3 หน้าที่ ใช้สำหรับขันเงินหรือคลาย สกรูที่มีหัวแฉก ลักษณะของไขควงปากแฉก ไขควงปากแฉกที่ส่วนปลายของไขควงจะมีลักษณะเป็นแฉกหรือลักษณะปากจีบจะผ่าวเป็นสี่แฉกเวลาปิดจะต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากกว่าไขควงปากแบนเพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดจากร่อง
3 ไขควงตอก Impact dirver
หน้าที่ ใช้สำหรับขันสกรูให้แน่นหรือคลายสกรูที่แน่นมาก ในกรณีใช้ไขควงสี่แฉกหรือแบนคลายไม่ออก ลักษณะของไขควงตอก ไขควงตอกจะมีส่่วนปลายลักษณะเป็นแฉกหรือแบน ส่วนด้ามสามารถปรับหมุนได้ การใช้งาน ใช้ปากของดอกตอกจรดไปที่หัวสกรูที่จะเอาออกแล้วให้หมุนด้ามไขควงตอกไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในขณะที่หัวแฉกยังอยู่ในร่องแฉก(ในกรณีคลายสกรูออก) จนรู้สึกว่าเลื่อนสุด จากนั้นจับตัวด้ามให้มั่นคงแล้วใช่คนเหล็กตีไปที่ส่วนหัวของไขควงตอก ในกรณีขันสกรูให้ฉันเข้าด้วยมือจึงสุดเกลียวจากนั้นก็ทำเหมือนคลายสกรูออกเพียงแต่จะต้องบิดด้ามไขควงตอกไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
ข้อปฏิบัติในการใช้ไขควงด้วยความปลอดภัย
1 เลือกขนาดของฝากไข่ความให้พอเหมาะกับเรื่องของหัวสกรู (ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ไม่หลวมหรือตึงเกินไป) ถ้าปากไขควงเล็กกว่าร่อง 2 หัวสกรูมากจะทําให้เรื่องของหัวสกรูชำรุดได้
2 ขณะหมุนขันต้องให้ก้อนไขควงตั้งตรงอยู่ในแนวศูนย์เดียวกันกับหัวสกรู (ไม่เอียง) เมื่อต้องคลายสกรูให้บิดไขควงทวนเข็มนาฬิกา และบิดตามเข็มนาฬิกาเมื่อต้องการขันแน่
3 ห้ามใช้ไขควงตอก เคาะ หรืองัด ถ้ามีความจำเป็นต้องตอกก็ให้ตอกเพียงเบาๆ
4 ห้ามใช้คีมจับก้านไขควงที่เป็นก้านกลมเพื่อช่วยการบิดตัว
5 ห้ามใช้ไขควงแทนสกัด เหล็กนำศูนย์ หรือเหล็กงัด
6 ถ้าสกรูที่ต้องถอนแน่มากความใช้ไขควงตอก ถ้าจะใช้ค้อนตอกลงไปที่ด้ามไขควงจะต้องเป็นไขควงที่ออกแบบมาให้ใช้ค้อนตอกเท่านั้น
7 ภายหลังจากการใช้งานต้องทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ในที่แห้งโดยปราศจากน้ำมันหรือจาระบี
ค้อน Hammers
ค้อน คือเครื่องมือ สำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น สำหรับการใช้งานสำหรับ เช่น การตอกตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูปและการทุบวัตถุค้อนอาจได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทางและมีรูปร่าง กับโครงสร้างที่หลากหลาย แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันคือด้ามจับและหัวค้อน ซึ่งน้ำหนักจะค่อนไปทางหัวค้อนมากกว่าแรงที่กระทบเป้าหมายจะมากเท่าใดขึ้นอยู่กับมวลของค้อนและความเร่งของการตอก ดังนั้นเมื่อค้อนยิ่งหนักมากและหวดด้วยความเร่งมากแรงที่ได้จากค้อนยิ่งมากตามไปด้วย คนที่ใช้ในงานช่างยนต์แบ่งออกได้ดังนี้
ค้อนหัวกลม (Ball peen hammer) ลักษณะทั่วไปของค้อนหัวกลมจะมีรูปร่างสามารถใช้งานได้ทั้งสองด้าน โดยทั่วไปจะทำจากเหล็กหล่อเหนียวหรือเหล็กกล้าชุบแข็ง ทนต่อแรงอัดและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดีแต่ละประเภทมีรูปร่างและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน หน้าค้อนใช้สำหรับตอกหน้าตัดจะมีลักษณะกลม ผิวหน้าของค้อนจะนูนโค้งเล็กน้อย ส่วนด้านบนจะมีลักษณะเป็นทรงกลมนิยมนำมาใช้ในการตอกตีทั่วไป เช่น ใช้กับสกัด การนำศูนย์ การดัดงอเหล็กเส้นกลมและเส้นแบน และเคาะขึ้นรูปทั่วไป หัวค้อนทำจากเหล็กกล้าชุบแข็งเพื่อรับแรงกระแทกในขณะตอก ใช้คอประเภทโลหะจึงแข็งๆ เช่น เคาะขึ้นขอบ เคาะตัวถังรถยนต์ เคาะเหล็กส่งสกัด
ค้อนทองเหลือง (Brass Hammer) เป็นค้อนหัวอ่อนปานกลาง หัวค้อนทำมาจากทองเหลืองซึ่งมีส่วนผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ผิวหน้าของค้อนมีลักษณะโค้งเล็กน้อยใช้สำหรับคอชิ้นงานหรือแผ่นโลหะที่ทำจากโลหะเนื้ออ่อน เช่น ทองแดง อะลูมเนียม ตะกั่ว เป็นต้น ใช้สำหรับตอกวัตถุที่ไม่ต้องการให้ผิวเสียหาย เช่น ตอกเพลาล้อ เป็นต้น
ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer) หัวค้อนทำมาจากพลาสติกแข็ง หน้าตัดมีลักษณะกลมผิวหน้านูนเล็กน้อย บริเวณขอบมน มีหัวพลาสติกทั้งสองข้างเหมือนกันและขันติดอยู่กับแกยเกลียวของอลูมิเนียมหล่อ เมื่อหัวค้อนเยินหรือแตกสามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้ ค้อนพลาสติกใช้สำหรับตอกหรือเคาะที่งานที่อ่อนและบอบบาง เช่น ฝาครอบเครื่องยนต์ เสื้อเกียร์ เป็นต้น
ข้อปฏิบัติในการใช้ค้อนด้วยความปลอดภัย
1 เล่นใช้ค้อนในเหมาะสมกับงาน 2. การใช้ค้อนทุกชนิด ควรจับที่บริเวนปลายด้ามของค้อนและการตอกงานต้องใช้ขิ้นงานสัมผัสกับหน้าค้อนโดยครง เพื่อให้ชิ้นงานได้รับน้ำหนักที่สม่ำเสมอ 3. อย่าใช้ค้อนที่มีด้ามหลวมหรือชำรุด 4. ด้ามค้อนต้องสะอาดไม่เปื้อนน้ำมัน ซึ่งอาจทำให้ลื่่นได้
10. คีม (Pllers)
คีมเป็นเครื่องมือประเภทจับชนิดหนึ่งมี 2 ขา คล้ายกรรไกรใ ช้สำหรับคีบ จับ ตัด ดัด งอโค้งตามต้องการใช้งานของคีมประเภทต่างๆ วัสดุที่ใช้ผลิตคีม ส่วนใหญ่ทำมาจากเหล็ก หากเป็นคีมที่ใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมีด้ามหุ้มเป็นพลาสติกที่เป็นฉนวนไฟฟ้า คีมที่ใช้ในงานช่างยนต์โดยทั่วไปมีดังนี้
1 คีมปากขยาย (combination Pliers)หรือบางครั้งเรียกว่าคีมเลื่อน คีมปากขยายสามารถปรับความกว้างของปากได้ 2 ตำแหน่งคือปรับขยายและลดขนาดได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่จะจับ ใช้สำหรับจับชิ้นงานการใช้สามารถปรับจุดรองรับให้อยู่ตรงช่องเพราะปากคีมสามารถขยับเปิดปิดได้ สามารถใช้หนีบจับและดึงได้บริเวณคอคีมสามารถใช้ตัดสายไฟที่มีขนาดเล็กๆ ได้
2. คีมปากยาว (Long nose pliers) หรือบางครั้งเรียกว่าคีมปากแหลม ปากของคีมจะมีลักษณะเล็กเรียวยาวและบางเหมาะสำหรับใช้งานในที่แคบได้สะดวกคีมแบบนี้ใช้สำหรับจับและดึง สลักล็อกหรือวัตถุชิ้นเล็กๆ มีที่แคบๆ แหวนล็อคสกัดลูกสูบ เป็นต้น นอกจากนี้ที่คีมสามารถนำมาตัดสายไฟหรือใช้ปอกสายไฟได้
3. คีมตัด (Diagonal cutter pliers) คีมตัดปากจะมีลักษณะเป็นใบมีดตั้งแต่ปลายงมาใช้ในการตัดปรือปอกสายไฟ สามารถนำไปตัดสายไฟหรือเลือกสายไฟที่ต้องการ ไม่สามารถนำไปใช้ตัดสายไฟที่แข็งแลละหนาได้เพราะสำหรับปากที่เหมือนของใบมีดตัดชำรุดเสียหายได้
4. คีมถอดแหวนล็อก (Snap ring pliers) มีทั้งแบบคีมหุบแหวนและคีมถ่ายแหวน ลักษณะของคีมบริเวณตรงปลายของปากคีมอาจจะแบนหรือกลมก็ได้ และบางแบบลักษณะตั้งฉากกับตัวคีม หรือขึ้นอยู่กับการออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน คีมแบบนี้ใช้สำหรับถอดแหวสปริงหรือคลิปล็อกต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้คีมประเภทอื่นถอดได้
5.คีมล็อก (Vise-grip pliers) .ใช้สำหรับจับชิ้นงานให้แน่นเป็นพิเศษกว่าคีมแบบอื่นๆ เพราะสามารถบีบชิ้นงานได้และขยายปากของคีมได้ตามขนาดของชิ้นงานด้วยการปรับที่สกรู แต่การใช้คีมล็อกบีบชิ้นส่วนจะทำให้ผิดชิ้นส่วนที่ใช้คีมล็อกจับเป็นรอย ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้ใช้ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรใช้คีมล็อกแทนประแจ
6. คีมปอกสายไฟอัตโนมัติ (Wire Stripper) ใช้สำหรับปอกสาไฟฟ้า ที่ปากขงคีมจะมีขนาดของรูเท่ากับขนาดของสายไฟฟ้าพอดี
ข้อควรปฏิบัติการใช้คีมด้วยความปลอดภัย
1. เลือกใช้คีมให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของคีมชนิดนั้นๆ เช่น คีมตัดไม่เหมาะกับการใช้จับ คีมตัดสายไฟฟ้าไม่เหมาะที่จะใช้ตัดผ่นโลละ เป็นต้น
2. การจัดคีม ควรให้ด้ามคีมอยู่ที่ปลายนิ้วทั้งสี่ แล้วใช้อุ้งมือแล้วนิวหัวแม่มือกดด้ามคีมอีกด้าน จะทำให้มีกำลังในการจับหรือตัด
3. การปอกสายไฟฟ้าควรใช้คีมปอกสายไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพราะจะมีขนาดของรูเท่ากับขนาดของสายไฟฟ้าพอดี ส่วนการตัดสายไฟฟ้าหรือเส้นลวดที่ไม่ต้องการให้โผล่จากชิ่นงานควรใช้คีมตัด
4. ไม่ควรใช้คีมขันหรือคลายหัวนัต เพราะจะทำให้หัวนัตชำรุด
5. ถ้าต้องจับชิ้นงานให้แน่นควรใช้คีมล็อก
6. ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ควรใช้คีมปากขยาย การใช้คีมที่ปากเล็กจะทำให้ไม่มีกำลังที่จะจับชิ้นงานให้แน่น เพราะด้ามของคีมจะถ่ายมากไป
7. หลังจากเลิกใช้งานประจำวัน ควรเช็คทำความสะอาด ควรหยอดน้ำมันที่จุดหมุนของคีม และควรมีการหยอดน้ำมันเป็นระยะแล้วเก็บไว้ในที่ที่จัดเตรียมไว้หรือที่ปลอดภัย
11. เหล็กส่ง (Punch)
เหล็กส่งมีอยู่หลายแบบ ในงานช่างยนต์ที่นิยมใช้มีดังนี้
เหล็กส่งสลัก (Pin punch) ลักษณะของแกนส่งมีขนาดเทากันตลอด เหล็กส่งมีหลายขนาดให้เลือกเพื่อเหมาะสมกับงานใช้สำหรับตอกเพื่อเปลียนหรือหรับแต่งสลัก จะมียางเป็นตัวรองสลักกับด้ามตลอดเพื่อป้องกันชิ้นส่วนหายเมื่อตอกสลักลงไปแล้ว
วิธีใช้ ให้ตอกตามแนวตั้ง ยางรองจะต้องรองรับได้พอดีกับด้ามตอก แล้วจับให้มันขณะใช้แรงตอก
เหล็กส่งเรียว (Starting punch) มีลักษณะเรียวจากปลายไปหาด้ามจับใช้สำหรับส่งมุดย้ำหรือสลักเกลียวเพื่อให้ขยับออกจากงานในครั้งแรก เมื่อหมุดย้ำขยับจังใช้เหล็กส่งสลักส่งออกอีกครั้ง
เหล็กส่งปะเก็น (Gasket punch) ใช้สำหรับเจาะรูวัสดูที่ใช้ทำปะเก็น เช่น ยาง ไม่ก๊อก หนัง เป็นต้น เหล็กส่งแบบนี้จะมีหลายขนาดตามมาตรฐานของโบลต์และสตัด ที่ปลายตัดจะเรียวและคมเพื่อใช้เจาะรู
วิธีใช้ ให้ทำตำแหน่งรูโบลต์ที่ปะเก็น จากนั้นเลือกขนาดของเหล็กส่งปะเกินให้เท่ากับโบลต์ว่างปะเกิ็นบนชิ้นไม้เพื่อให้เวลาเจาะทะลุจะไม่ต้องให้คมของเหล็กส่งเสียงหรือทื่อ กดเหล็กส่งกับปะเก็นและใช้ค้อนตีจนปะเก็นทะลุเป็นรูตามต้องการ
12 เหล็กนำศุนย์ (Center Punch)
เหล็กน้ำศูนย์จะใช้ในการทำเครื่องหมายบนชิ้นงานที่เป็นโลหะเพื่อเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของการเจาะรูในโลหะ หากไม่ได้ทำเครื่องหมายก่อนจะทำให้การเจาะไม่ได้ตามตำแหน่งที่ต้องการ ลักษณะของเหล็กนำศูนย์จากจุดศูนย์กลางของปากจะเรียวเป็นมุมประมาณ 90 องศา แต่ถ้าต้องการทำตำแหน่งการเจาะรูที่ถูกต้องก็จะใช้เหล็กตอกหมาย(Prick punch) ตอกนำเป็นครั้งแรกก่อน จากนั้นจึงใช้เหล็กนำศูนย์ตอกตามอีกครั้งหนึ่ง ในงานช่างยนต์จะใช้เหล็กตอกหมายทำเครื่องหมายบนชิ้นส่วนเพื่อประกอบ
เครื่องมือพิเศษ(Special tool )
เครื่องมือพิเศษเป็นเครื่องมือที่ใช้เฉพาะอย่าง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการซ่อมและเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนใด้ เครื่องมือพิเศษถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยเฉพาะดังนั้นจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเครื่องมือพิเศษที่ใช้ในงานช่างยนต์มีดังนี้
1. ประแจวัดแรงบิด (Torque wrench)
ประแจวัดแรงบิด ใช้สำหรับวัดแรงบิดที่ขันนัตหรือโบลต์ เช่น โบลต์ฝาสูบ ประกับแบบแบริ่งก้านสูบประกับแบริ่งเพลาข้อเหวี่ยง เป็นต้น หน่วยที่ใช้อ่านค่าแรงบิดแบ่งออกเป็นหน่วย ฟุต-ปอนต์ (Ft lb)
กิโลกรัม เซนติเมตร (Kgf cm) และนิ้วตัน เมตร (N m) ส่วนขนาดของประแจแรงบิดที่ใช้ในงานช่างยนต์มีหลายขนาด เช่น 50 100 150 ฟุต-ปอนด์ (ft lb ) ประแจวัดแรงบิดที่นิยมใช้งานง่ายอยู่ 2 แบบดังนี้ .
ประแจวัดแรงบิดแบเข็มชี้ (Deflecting beam) แบบนี้จะมีเข็มชี้จากหัวประแจต่อมายังแผ่นสเกลบอกค่าแรงบิด ขณะขันสปริงจะบิดตัวและอ่านค่าแรงบิดได้จากเข็มชี้ การใช้งานให้ใช้ค่าแรงขันบนสเกลระหว่าง 50 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ค่าของแรงบิดที่แน่นอนและเวลาขันให้จับด้ามจับอยู่ศูนย์กลาง มิฉะนั้นค่าแรงบิดที่วัดได้จะมีค่าคลาดเคลื่อน
ประแจวัดแรงบิดชนิดปรับค่าได้ (Micrometer adjustable) ประแจประเภทนี้ที่ด้านท้ายของด้ามประแจจะมีตัวล็อคและด้ามที่หมุนได้เพื่อปรับค่าแรงบิด และขณะขันเมื่อได้ค่าแรงบิดตามที่กำหนดจะมีเสียงดัง คลิก เพื่อบอกว่าได้ค่าแรงบิดตามที่ตั้งไว้
ข้อปฏิบัติการใช้งานประแจแรงบิด
1. ประแจวัดแรงบิดใช้กับประแจกระบอก2. ต้องทราบพิกัดในการขันเสียก่อนแล้วเลื่อนขนาดของประแจวัดแรงบิดให้เหมาะสมข้อควรระวัง จะต้องดูมวยวัดให้แน่นอนว่าเป็นเหมือนอะไรเช่น lb ft kg m หรือ N m เป็นต้น3.ใช้ประแจธรรมดาเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันโบลต์หรือนัตให้แน่นพอประมาณก่อน จากนั้นใช้ประแจแรงบิดขันโบลต์หรือนักในขั้นตอนสุดท้าย ถ้าใช้ประแจวัดแรงบิดคันในตอนเริ่มต้นก่อนจะทำให้ประแจชำรุดได้4.ขนาดใช้ประแจวัดแรงบิดควรเลือกใช้ขนาดประแจกระบอกให้พอดีกับขนาดโบลต์หรือนัดแล้วให้ใช้มือซ้ายกดบริเวณหัวประแจไว้เพื่อป้องกันประแจกระบอกพลาดหลุดจากหัวโบลต์หรือนัด จากนั้นดึงด้ามจับของประแจวัดแรงบิดเข้าหาตัวด้วยขณะเดียวกันแขนจะต้องตั้งฉากกับแนวของประแจด้วย5 เมื่อทราบค่าแรงบิดที่ต้องการขัน ให้ขันนัตหรือโบลต์ทุกตัวให้แน่นพอดีกับชิ้นงานก่อนจากนั้นจึงแบ่งค่าแรงบิดที่ต้องการออกเป็น 3 ครั้ง โดยครั้งแรกขันด้วยแรงบิด1/3 ของแรงบิดที่กำหนด ครั้งที่ 2 ขันด้วยแรงบิด ⅔ และครั้งที่ 3 คันเท่ากับค่าแรงบิดที่กำหนด ส่วนครั้งที่ 4 ขันเพื่อตรวจสอบ นัตหรือโบลต์ทุกตัวด้วยแรงบิดเท่ากับค่ากำหนดอีกครั้งหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น ต้องการขันโบลต์สารสิทธิ์ด้วยค่าเรียนบุตร 90 ft.ib ดังนั้นแบ่งค่าแรงบิดการขันได้ดังนี้คือครั้งที่ 1 = 30 ft lb ครั้งที่ 2 = 60 ft.ib ครั้งที่ 3 = 90 ft.ib ส่วนครั้งที่ 4 ให้ใช้ค่าแรงบิดเท่ากับครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการตรวจสอบค่าแรงบิดอีกครั้งหนึ่ง
ค่าเปรียบเทียบแรงบิด 1 กิโลกรัม- เมตร (kg.m) = 7.2330 ฟุต-ปอนด์ (ft.ib) 1 กิโลกรัม- เมตร (kg.m) = 9.81 นิวตัน เมตร (N.m) ถ้าต้องการเปลี่ยนกิโลกรัม-เมตร เป็นกิโลกรัม-เซนติเมตรให้คูณด้วย 100 แล้วต้องการเปลี่ยนกิโลกรัม-เมตร เป็น ฟุต - ปอนด์ให้คุณด้วย 7.23330
2 ปลอดรัดแหวนลูกสูบ (Piston ring compressor)
ปลอดรัดแหวนลูกสูบ ใช้สำหรับรัดแหวนลูกสูบก่อนที่จะประกอบลูกสูบเข้ากับกระบอกลูกสูบ
ปลอดรัดแหวนลูกสูบที่ใช้งานมีอยู่ 3 ขนาดด้วยกันคือ ขนาด 212ถึง 5 นิ้ว, 312ถึง 6 นิ้ว และ 3 12ถึง 7 นิ้ว ดังนั้นต้องเลือกใช้งานต้องให้เหมาะสมกับขนาดของลูกสูบด้วย การใช้งานปลอกรัดแหวนนั้น เมื่อต้องการขยายปลอกรัดให้กดปุ่มล็อก ปลอกรัดก็จะขายออกจำได้ขนาดตามต้องการจึงค่อยปล่อยปุ่มล็อค จากนั้นสวมเข้ากับลูกสูบและใช้ด้ามขันใส่เข้าไปในช่องขันแล้วบิดด้ามขันตามเข็มนาฬิกาเพื่อให้ปลอกรัดบีบแหวนลูกสูบให้แนบสนิทกับร่องแหวน
3.เหล็กดูด (Pullers)
ใช้สำหรับถอดเฟือง พูลเลย์ และลูกปืนต่างๆ ออกจากเพลา โดยใช้เจียวของเหล็กดูดเต็มตัวเพิ่มกำลัง ในงานช่างยนต์เหล็กดูดมีหลายชนิด เช่น เหล็กดูดเฟืองเกียร์ เหล็กดูดพูลเลย์ เหล็กดูดลูกปืน เป็นต้น การเลือกใช้เหล็กดูดควรเลือกให้เหมาะสมกับงานเพราะถ้าใช้ผิดประเภทจะทำให้ชิ้นส่วนเกิดความเสียหายได้
4.เครื่องมือกดสปริงลิ้นแบบตัวชี (valve spring compressor C-Clamptype)
ใช้สำหรับกดสปริง
ข้อปฏิบัติการใช้เครื่องกดสปริงแบบตัวชี
1.เลือกขนาดของเครื่องมือกดสปริงให้เหมาะสมกับงาน
2. ปรับระยะห่างของฝากกดแหวนรองสปริงลิ้นให้พอดีและให้อยู่ศูนย์กลางของแหวนรองสปริงลิ้นด้วยสกรูปรับแป้นกดลิ้น
3.กดด้ามกดล็อคเครื่องกดสปริงลิ้นให้สุดตำแหน่ง สปริงลิ้นจะต้องหยุดตัวเต็มที่
4.ถอดประกับล็อคลิ้นออก (เกือกม้า) และปลดด้ามกดล็อคออก สปริงลิ้นจะยืดกลับและถอนสปริงลิ้นออก
5. การประกอบสปริงลิ้นให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการถอด
คีมถ่างแหวนลูกสูบ(Piston ring expander)
แหวนลูกสูบมีโครงสร้างที่แข็งแต่เปราะ จึงทำให้หักได้ง่าย ดังน้นเพื่อป้องกันแหวนลูกสูปหัวหักในขณะถอดและประกอบแหวนลูกสูปบเข้าไปกับลูกสูบ จึงควรใช้คีมถ่างแหวนลูกสูบ
ข้อปฏิบัติวิธีใช้คีมถ่างแหวนลูกสูบ
1 เลือกขนาดของคีมถ่างแหวนให้เหมาะสมกับขนาดของแหวนลูกสูบเพราะถ้าเลือกผิดอาจทำให้แหวนลูกสูบหักได้
2.จัดบ่าของคีมถ่างแหวนลูกสูบเข้ากับปากแหวนและด้านล่างของแหวนลูกสูบ
3.บีบด้ามของคีมถ่างแหวนให้แหวนลูกสูบพ้นจากร่องแหวนแล้วถอดแหวนลูกสูบออก
4.การประกอบแหวนเข้ากับลูกสูบให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
คำศัพท์ท้ายหน่วย
Hands tool = เครื่องมือทั่วไปSpecial tool = เครื่องมือพิเศษBox wrench = ประแจแหวนOpen end wrench = ประแจปากตาย.Combination wrench = ประแจรวมAdjustable wrench = ประแจเลื่อนSocket wrench = ประแจกระบอกFlex handle = ด้านขันเร็วRatchet handle = ด้ามขันกรอกแกรกSliding T – handle = ด้านขันตัวทีSpeed handle = ด้ามขันเร็วExtension bar = ก้านต่อAdaptor = หัวต่อเพิ่ม – ลดUniversal joint = ข้อต่ออ่อนAllen wrench = ประแจแอลScrewdriver = ไขควงFlat blade screwdriver = ไขควงปากแบนPhillips – type screw driver = ไขควงปากแฉกImpact driver = ไขควงตอกHammers = ค้อนBall peen hammer = ค้อนหัวกลมBrass hammer = ค้อนทองเหลืองPlastic hammer = ค้อนพลาสติกPliers = คีมCombination Pliers = คีมปากขยายLong nose pliers = คีมปากยาวDiagonal cutter pliers = คีมตัดSnap ring pliers = คีมถอดแหวนล็อกVise-grip pliers = คีมล็อกPunch = เหล็กส่งPin punch = เหล็กส่งสลักStarting punch = เหล็กส่งเรียวGasket punch = เห็กส่งปะเก็นCenter Punch = เหล็กนำศูนย์Prick punch = เหล็กตอกหมายTorque wrench = ประแจวัดแรงบิดPiston ring expander = คีมถ่างแหวนลูกสูบPullers = เหล็กดูดWire Stripper = คีมปอกสายไฟอัตโนมัติSpark plugwrench = ประแจกระบอกหัวเทียนPiston ring compressor = ปลอกรัดแหวนลูกสูบDeflecting beam = ประแจวัดแรงบิดแบบเข็มชี้Micrometer adjustable = ประแจวัดแรงบิดแบบชนิดปรับค่าได้Valve spring compressor C – Clamp type = เครื่องมือกดสปริงลิ้นแบบตัวซี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น