แนวคิด
สิ่งที่ต้องคำนึงถือเสมอในการปฏิบัติงานคือความปลอดภัย ในการปฏิบัติงานหากมีการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตราย หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักได้ อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องจักและความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้สภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น อากาศ แสงสว่าง เสียง การวางผังโรงงาน เป็นต้น สิ่งต่างๆ ดังกล่าวนี้หากมีความบกพร่องอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ขณะเดียวกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะส่งผลโดยตรงต่อการได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน ความปลอดภัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพและหัวใจของการทำงาน ผู้ที่ปฏิบัติได้ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยอยู่เสมอ
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของความปลอดภัย
2. สาเหตุของอุบัติเหตุ
3. ผลการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน
4. หลักความปลอดภัยสนการปฏิบัติงาน
5. หลักความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
6. อุบัติภัยจากอัคคีภัย
7. การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์
8. การดูแลโรงฝึกงาน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. บอกความหมายของความปลอดภัยได้
2. บอกสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุได้
3. อธิบายผลการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานได้
4. อธิบายหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานได้
5. อธิบายหลักการป้องกันอุบัติภัยต่างๆได้
6. บอกการดูแลโรงฝึกงานได้
1. ความหมายของความปลอดภัย
2. สาเหตุของอุบัติเหตุ
3. ผลการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน
4. หลักความปลอดภัยสนการปฏิบัติงาน
5. หลักความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
6. อุบัติภัยจากอัคคีภัย
7. การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์
8. การดูแลโรงฝึกงาน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. บอกความหมายของความปลอดภัยได้
2. บอกสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุได้
3. อธิบายผลการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานได้
4. อธิบายหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานได้
5. อธิบายหลักการป้องกันอุบัติภัยต่างๆได้
6. บอกการดูแลโรงฝึกงานได้
ความหมายของความปลอดภัย
การเกิดอุบัติเหตุในการทำงานแต่ละครั้งมิใช้เกิดจากเคราะห์กรรมของแต่ละบุคคล หากแต่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุที่ชัดเจน การเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานจะเกิดขึ้นได้โดยการแก้ไขป้องกนที่สาเหตุของอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ความปลอดภัย (Sfety) หมายถึง สภาพที่ปรอดภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในการปฏิบัติงาน
อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายและเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ
ภัย (Hazard) เป็นสภาพการณ์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อบุคคลหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือวัสดุ หรือกระทบกระเทือนต่อขีดวามสามารถในการปฏิบัติการของบุคคล
อันตราย (Danger) หมายถึง ระดับความรุนแรงที่เป็นผลเนื่องมาจาก (Hazard) อันตรายจากภัยอาจมีระดับสูงมากหรือน้อยก็ได้ขึ้นอยู่กับมาตรการในการป้องกัน เช่น การทำงานบนที่สูง สภาพการณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นภัยซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บถึงเสียชีวิตได้หากมีการพลัดตกลงมา ในกรณีนี้ถือได้ว่ามีอันตรายอยู่ในระดับหนึ่ง หากแต่ระดับอันตรายจะลดน้อยลง ถ้าผู้ปฏิบัติงานใช้สายนิรภัย (Harness) ขณะทำงานจะทำให้มีโอกาสของการพลัดตกและก่อให้เกิดการบาดเจ็บน้อยลง
สาเหตุของอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุและการทำงานมักจะเกี่ยวข้องกันเสมอ อุบติเหตุเห็นสิ่งที่ไม่คาดได้ล่วงหน้า หรือไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นมา เมื่อใดก็ตามเมื่อผู้ปฏิบัติงานเกิดความประมาทก็อาจเกิดอุบติเหตุได้ทันที สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุมี 3 ประการ ดังนี้
1. สาเหตุที่เกิดจากมนุษย์ (Human Cause)
ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุที่ครั้งจะมีจำนวนสู่ที่สุดถึงร้อยละ 88 ตัวอย่างเช่น ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์การทำงานไม่ถูกวิธี ความประมาท การมีนิสัยชอบเสี่ยงในการทำงาน หยอกล้อกันระหว่างทำงาน แต่งการไม่เหมาะสม สภาพจิตใจ เป็นต้น
2. สาเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของเครื่องจัก (Mechanical Failure)
มีประมาณร้อยละ 10 ของการเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง ตัวอย่างเช่น ส่วนที่เป็นอันตรายของเครื่องจักรไม่มีเครื่องป้องกัน เครื่องจักและเครื่องมือชำรุดบกพร่อง การวางฝังโรงงานไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ปลอดภัย เป็นต้น
3. สาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติ (Acts of God)
มีประมาณร้อยละ 2 เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินอกเหนือการควบคุม ตัวอย่างเช่นเกิดพายุ น้ำท่วม ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว เห็นต้น
ผลการสูญเสียวที่เกิดจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานผลการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในการทำงาน สามารถแบ่งออกได้ด้งนี้
1.การสูญเสียโดยตรง
1.2. ทำให้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรตดลอดจนทรัพย์สินอื่นๆ ชำรุดเสียหาย 1.3. การสูญเสียที่เป็นเป็นเงินซึ่งนายจ้างหรือรัฐบานต้องจ่ายโดยตรงให้แก่ผู้ที่ไดรับอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทนที่ต้องจ่ายโดยรัฐหรือโรงค่า ค่าทำขวัญ
2.การสูญเสียทางอ้อม

หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ความปรอดภัยในการปฏิบัติงาน ไม่ใช้เรื่องของใครคนใคคนหนึ่ง เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและให้ความสำคัญ หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้
1. จะต้องยอมรับ และปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานโดยเคร่งครัด
2. ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกกับงาน
3. แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงงาน และใช้เครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติงานที่กำหนดให้ใช้เครื่องป้องกัน
4. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
5. เก็บรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เมื่อนำไปใช้ต้องเก็บไว้ให้ถูกจุดทุกครั้ง 6. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทำงาน
1. จะต้องยอมรับ และปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานโดยเคร่งครัด
2. ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกกับงาน
3. แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงงาน และใช้เครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติงานที่กำหนดให้ใช้เครื่องป้องกัน
4. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
5. เก็บรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เมื่อนำไปใช้ต้องเก็บไว้ให้ถูกจุดทุกครั้ง 6. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทำงาน
หลักความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
- ใช้เครื่องจักรอย่างระมัดระวัง ปฏิบัติงานตามคู่มือหรือขึ้นตอนที่กำหนด
- อย่างถอดเครื่องมือนิรภัยหรือที่ครอบป้องกันอันตรายออกจากเครื่องจักรเด็ดขาด
- ห้ามใช้เครื่องจักรโดยไม่มีหน้าที่หรือได้รับการอบรมมาก่อน
- สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมกับงาน
- ระวังอย่าให้มือหรือส่วนหนึ่งของร่างก่ายเข้าใกล้จุดหมุดหรือส่วนที่เครื่องไหวของเครื่องจักร
- ขณะเครื่องจักรกำลังทำงานอย่าปรับแต่ง ทำความสะอาดหรือพยายามดึงชิ้นงานที่ติดขัดออกโดยไม่หยุดเครื่องจักรก่อน
- สวมใส่เสื้อผ้าที่กระชับ ไม่ควรสวมเครื่องประดับที่อาจถูกเครื่องจักหนีบหรือดึงเข้าไปได้
- ขณะตรวจสอบ แก้ไข หรือซ่อมแซมเครื่องจักใช้แขวนป้อยเตือน และใส่กุญแจล็อกตลอดเวลา
- ก่อนการปฏิบัติงานต้องตรวจสอบสภาพเครื่องจักว่าอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน
- หากพบเครื่องจักร เครื่องมือนิรภัย หรือที่คอบป้องกันอันตรายชำรุดหรือสูญหายให้แจ้งหัวหน้าทันที
อุบัติภัยจากอัคคีภัย
การเกิดอัคคีภัยหรือเพลิงไหม้ ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ
เชื้อเพลิง ซึ่งอาจจะอยู่ในสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ เช่น ไม้ กระดาษ น้ำมันเบนซิน ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
อากาศ มีออกซีเจนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ออกซิเจนเป็นสารช่วยให้เกิดการลุกไหม้
ความร้อน บริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่เหมาะสมพอที่จะทำให้เชื้อเพลิงนั้นเกิดเปลวไฟขึ้นได้

1.2. การสูบบุหรี่หรือการจุดไฟ ในบริเวณที่มีเชื้อเพลิงไวไฟการทิ้งก้นบุหรี่ ไม่ขีดไฟที่ติดไฟแล้วลงถึงขยะ
1.3. สะเก็ดไฟ ประกายไฟ หรือเปลวไฟ จากการเชื่อมและตัดโลหะ ประกายไฟภายในเครื่องจักรที่ขัดข้อง เตาเผาที่ไม่มีสิ่งปกคลุมประกายไฟ เปลวไฟเหล่านี้สัมผัดเชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้เคียงทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
1.4. สภาพบรรยากาศที่มีสิ่งปนเปื้อน ก่อให้เกิดการระเบิดได้ เช่น ฝุ่นผง ไอระเหย ก๊าซของสารซึ่งมีความเข้มข้นอยู่ในช่วงที่เหมาะสม เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิถึงจุดระเบิดก็จะระเบิดลุกไหม้ขึ้นได้
2.ชนิดของเพลิงไหม้
2.1. เพลิงประเภท ก. ได้แก่ เพลิงที่ไหม้จากวัสดุธรรมดา เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า ฯลฯ การดับเพลิงประเภทนี้ต้องใช้ความเย็นและความเปียกชื้น
2.2. เพลิงประเภท ข. ได้แก่ เพลิงที่เกิดจากวัสดุไวไฟ เช่น น้ำมันเบนซิน สี ก๊าซหุงต้ม หรือของเหลวไวไฟต่างๆ การดับเพลิงประเภทนี้ต้องครอบคลุมเพลิงคือป้องกันไม่ใช้ออกซีเจนเข้าไปช่วยให้เกิดไฟติด
2.3. เพลิงประเภท ค. ได้แก่ เพลิงที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ สวิตซ์ การดับเพลิงประเภทนี้ต้องใช้สารดับเพลิงที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า
3.การดับเพลิง
สารดับเพลิงเป็นสารที่ใช้เพื่อตัดองค์ประกอบของการเกิดเพลิงไหม้ เช่น ลดความร้อน หรือกำจัดออกซิเจน การใช้สารดับเพลิงขึ้นอยู่กับสภาพของเพลิงที่เกิดขึ้น สารดับเพลิงที่ใช้มีดังนี้
3.1. น้ำ (Water) เป็นสารดับเพลิงที่ใช้กับเพลิงที่เกิดจากวัสดุธรรมดา เช่น ไม้ การะดาษเพราะน้ำมีคุณสมบัติในการดับเพลิง คือ ลดอุณหภูมิของเชื้อเพลิงให้ต่ำกว่าจุดติดไฟ ปกคลุมไม่ให้ออกซีเจนจากอากาศเข้าถึงเชื้อเพลิง และเมือกระทบกับความร้อนจะเป็นไอ ข้อควรระวังในการใช้นำเป็นสารดับเพลิงคือต้องไม่ใช้กับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้า หรือใกล้สายไฟฟ้า เพราะจะทำให้เกิดไฟดูดผู้ปฏิบัติงานและผู้คนได้
3.2. คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) จะประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้ความดัน สามารถนำไปดับเพลิงได้ทุกประเภ
3.3. โฟม (Foam) โฟมเป็นสารดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นฟองผลิตจากการผสมระหว่างโซเดียมไบคาร์บอเนต กับสารละลายอะลูมิเนียมซัลเฟต เหมะสำหรับใช้ดับเพลิงที่เกิดจากวัสดุไวไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
3.4. ผงเคมีแห้ง (Dry chemical) ผงเคมีสามารถใช้ดับเพลิงได้ทุกชนิด แต่มีข้อเสียคือจะทำให้บริเวณเพลิงไหม้สกปรกไปด้วยผงเคมี
ตารางการใช้เครื่องดับเพลิง
ประเภท
|
น้ำ
|
คาร์บอนไดออกไซด์
|
โฟม
|
ผงเคมี
|
ก.(ไม้ กระดาษ ผ้า ฯลฯ)
|
ดีมาก
|
เพลิงขนาดเล็ก
|
ดีมาก
|
เพลิงขนาดเล็ก
|
ข. (น้ำมันหรือของเหลวไวไฟต่างๆ)
|
ห้ามใช้
|
ดีมาก
|
ดีมาก
|
ดีมาก
|
ค. (อุปกรณ์ไฟฟ้า)
|
ห้ามใช้
|
ดีมาก
|
ห้ามใช้
|
ดีมาก
|
4.การป้องกันการเกิดอัคคีภัย
4.1. ระบบไฟฟ้า การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะต้องคุณสมบัติเหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้งานเมื่อเป็นพื้นที่ที่มีไอระเหยของสารไวไฟอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดกันการระเบิดได้ (Explosion proof) และหลังใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าควรปิดสวิตช์และดึงปลั๊กออกทุกครั้ง
4.2. การบำรุงรักษาเครื่องจักร หมั่นตรวจตราและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เครื่องจักรต่างๆ อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อมิให้เกิดอัคคีภัยจากการชำรุดหรือความบกพร่องของอุปกรณ์
4.3. การสำรวจและตรวจสอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในอาคารและนอกอาคาร การแยกจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกวิธีตามเอกสารข้อมูลความปรอดภัยเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ (Material Safety Data Sheet)
4.4. การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานทุกๆ คนจะต้องทราบและเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบหรือวิธีการปฏิบัติที่ปลอดภัย เพื่อให้พนันงานปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องไม่เป็นต้นเหตุของการเกิดอัคคีภัย
การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์
การทำงานในรางงานซ่อมรถยนต์อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจึงมีความจำเป็นที่ช่างจะต้องทรายซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
1. อย่าบัดกรี เชื่อมหรือตัดถึงน้ำมันรถยนต์จนกว่าจะล้างน้ำมันที่ตกค้างออกให้หมด
2. ข้อต่อท่อน้ำมันในรถยนต์ต้องตรวจสอบอยู่เสมออย่าให้รั่ว น้ำมันเชื้อเพลิงที่รั่วถ้าพุ่งออกมาจะถูกประกายไฟหรือท่อไอเสียอาจเกิดการลุกไหม้ได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงไว้บริเวณปฏิบัติงาน
3. การยกเครื่องยนต์ออกจากตัวถังรถ ควรตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับการยกให้เรียบร้อย
4. การทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ารถยนต์ ระบบคลัตซ์ ควรปลดขั้วแบตเตอรี่ออกก่อน เพื่อป้องกันการลัดวงจรและการเกิดอัคคีย์ภัยจากไฟฟ้า
5. การขึ้นแม่แรงต้องขึ้นในจุดที่แข็งแรงและใช้ขาตั้งรองในตำแหน่งเหมาะสม ห้อมใช้แม่แรงยกรถไว้แล้วเข้าไปปฏิบัติงานใต้รถเป็นอันขาด และในขณะขึ้นแม่แรงควรใช้ลิ่มหรือขอนหนุนล่อรถ
6. น้ำยาของแบตเตอรี่เป้นกรดอย่างแรง เมื่อสัมผัสร่างกายให้ล้ายด้วยด่างอย่างอ่อน
7. ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำหลังจากดับเครื่องยนต์ใหม่ๆ ควรรอจนกระทั้งเครื่องเย็นแล้วจึงเปิด
8. การบริการเกี่ยวกับของเหลวรถยนต์ ถ้าเครื่องยนต์ทำงานมาระยะหนึ่งควรระมัดระวังเกี่ยวกับความร้อนจากของเหลวที่ถ่ายออกเป็นพิเศษ
9. อย่าใช้น้ำมันเบนซินล้างทำความสะอาดชิ้นส่วนและสิ่งอื่นๆ เพราะน้ำมันเบนซินติดไฟง่ายควรใช้น้ำมันก๊าดหรือนำมันดีเซลล้างซึ่งติดไฟได้ยากกว่า
10. ถ้านำมันเบนซินรั่วลงพื้นต้องรีบทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งทันที
11. ก่อนถอดข้อต่อท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิงควรใช้ผ้าห่อรอบๆ ก่อนจึงถอด เพื่อป้องกันน้ำมันกระจายไปถูกชิ้นส่วนที่ร้อนอาจทำให้เกิดการลุกไหม้ของไฟได้
12. ไม่ควรติดเครื่องยนต์ในโรงงานที่หน้าค่า ประตูปิด หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เพราะควันไปเสียจะเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการมึนงง เพื่อป้องกันควันไอเสียเข้าสู่ร่างกายเมื่อติดเครื่องยนต์ในบริเวณดังกล่าวควรมีเครื่องดูดควันไอเสีย หรือเป็นบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
13. ห้ามสัมผัสน้ำมันเครื่องที่ใช้งานแล้วเป็นเวลานาน เพราะมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ถ้ามีความจำเป็นควรสวมถุงมือ ถ้าใส่ผ้าเปียกน้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนทันที
14. ห้ามให้ฝุ่นละอองที่มาจากผ้าเบรกและผ้าคลัตซ์เข้าสู่ภายในร่างกาย เพราะผ้าเบรกและแผ่นคลัตช์ทำมาจากแร่ใยหินหรือแอสเบสทอสซึ่งเป็นสารทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นควรใช้นำยาหรือนำล้างห้ามใช้ลมเป่าเด็ดขาด
15. ฟองน้ำยาทำความเย็นเครื่องปรับอากาศเป็นก๊าซพิษ ถ้ากระจายมาถูกเปลวไฟรือบุหรี่ที่สูบจะทำให้แดการไหม้ผิวหนังที่สัมผัสได้
2. ข้อต่อท่อน้ำมันในรถยนต์ต้องตรวจสอบอยู่เสมออย่าให้รั่ว น้ำมันเชื้อเพลิงที่รั่วถ้าพุ่งออกมาจะถูกประกายไฟหรือท่อไอเสียอาจเกิดการลุกไหม้ได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงไว้บริเวณปฏิบัติงาน
3. การยกเครื่องยนต์ออกจากตัวถังรถ ควรตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับการยกให้เรียบร้อย
4. การทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ารถยนต์ ระบบคลัตซ์ ควรปลดขั้วแบตเตอรี่ออกก่อน เพื่อป้องกันการลัดวงจรและการเกิดอัคคีย์ภัยจากไฟฟ้า
5. การขึ้นแม่แรงต้องขึ้นในจุดที่แข็งแรงและใช้ขาตั้งรองในตำแหน่งเหมาะสม ห้อมใช้แม่แรงยกรถไว้แล้วเข้าไปปฏิบัติงานใต้รถเป็นอันขาด และในขณะขึ้นแม่แรงควรใช้ลิ่มหรือขอนหนุนล่อรถ
6. น้ำยาของแบตเตอรี่เป้นกรดอย่างแรง เมื่อสัมผัสร่างกายให้ล้ายด้วยด่างอย่างอ่อน
7. ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำหลังจากดับเครื่องยนต์ใหม่ๆ ควรรอจนกระทั้งเครื่องเย็นแล้วจึงเปิด
8. การบริการเกี่ยวกับของเหลวรถยนต์ ถ้าเครื่องยนต์ทำงานมาระยะหนึ่งควรระมัดระวังเกี่ยวกับความร้อนจากของเหลวที่ถ่ายออกเป็นพิเศษ
9. อย่าใช้น้ำมันเบนซินล้างทำความสะอาดชิ้นส่วนและสิ่งอื่นๆ เพราะน้ำมันเบนซินติดไฟง่ายควรใช้น้ำมันก๊าดหรือนำมันดีเซลล้างซึ่งติดไฟได้ยากกว่า
10. ถ้านำมันเบนซินรั่วลงพื้นต้องรีบทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งทันที
11. ก่อนถอดข้อต่อท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิงควรใช้ผ้าห่อรอบๆ ก่อนจึงถอด เพื่อป้องกันน้ำมันกระจายไปถูกชิ้นส่วนที่ร้อนอาจทำให้เกิดการลุกไหม้ของไฟได้
12. ไม่ควรติดเครื่องยนต์ในโรงงานที่หน้าค่า ประตูปิด หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เพราะควันไปเสียจะเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการมึนงง เพื่อป้องกันควันไอเสียเข้าสู่ร่างกายเมื่อติดเครื่องยนต์ในบริเวณดังกล่าวควรมีเครื่องดูดควันไอเสีย หรือเป็นบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
13. ห้ามสัมผัสน้ำมันเครื่องที่ใช้งานแล้วเป็นเวลานาน เพราะมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ถ้ามีความจำเป็นควรสวมถุงมือ ถ้าใส่ผ้าเปียกน้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนทันที
14. ห้ามให้ฝุ่นละอองที่มาจากผ้าเบรกและผ้าคลัตซ์เข้าสู่ภายในร่างกาย เพราะผ้าเบรกและแผ่นคลัตช์ทำมาจากแร่ใยหินหรือแอสเบสทอสซึ่งเป็นสารทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นควรใช้นำยาหรือนำล้างห้ามใช้ลมเป่าเด็ดขาด
15. ฟองน้ำยาทำความเย็นเครื่องปรับอากาศเป็นก๊าซพิษ ถ้ากระจายมาถูกเปลวไฟรือบุหรี่ที่สูบจะทำให้แดการไหม้ผิวหนังที่สัมผัสได้
การดูแลโรงฝึกงาน
1. พื้นโรงงานจะต้องทำความสะอาดปราศจากน้ำมันหรือฝุ่นผง
2. ทำความสะอาดบริเวณสถานที่ปฏิบัติงานและคลังเก็บของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
3. ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางามทางเดิน
4. ควรเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
5. จัดให้มีเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นไฤในโรงงาน
6. วัสดุทั้งหมดที่ติดไฟได้ ควรเก็บแยกไว้เฉพาะ
7. ผ้าที่ใช้งานแล้ว ชิ้นส่วนกระดาษทรายและเศษเหล็กควรใส่ไว้ในถัง
8. วัสดุและชิ้นส่วนต่างๆ ควรเก็บไว้เป็นที่ให้เรียบร้อย
9. วัสดุที่ติดไฟได้ควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
2. ทำความสะอาดบริเวณสถานที่ปฏิบัติงานและคลังเก็บของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
3. ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางามทางเดิน
4. ควรเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
5. จัดให้มีเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นไฤในโรงงาน
6. วัสดุทั้งหมดที่ติดไฟได้ ควรเก็บแยกไว้เฉพาะ
7. ผ้าที่ใช้งานแล้ว ชิ้นส่วนกระดาษทรายและเศษเหล็กควรใส่ไว้ในถัง
8. วัสดุและชิ้นส่วนต่างๆ ควรเก็บไว้เป็นที่ให้เรียบร้อย
9. วัสดุที่ติดไฟได้ควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
คำศัพท์ท้ายหน่วย
Safet = ความปลอดภัย
Hazard = ภัย
Danger = อันตราย
Harness = สายนิรภัย
Carbondioxide = คาร์บอนไดออกไซด์
Foam = โฟม
Dry chemical = ผงเคมีแห้ง
Acts of God = สาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติ
Human Cause = สาเหตุที่เกิดจากมนุษย์
Material Safety Data Sheet = ความปลอดภัยที่เกี่ยวกับเคมีภัณฑ์
Mechanical Failure = สาเหตุที่เกิดจามความผิดพลาดของเครื่องจักร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น