แนวคิด
ปัจจุบันเครื่องมือวัดละเอียดถูกนำมาใช้เพื่อตรวจตรวจสอบและควบคุมขนาดของชิ้นงานให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่วนงานด้านเครื่องยนต์ เรื่องมือวัดละเอียดได้นำมาใช้เพื่อตรวจสอบการสึกหรอของชิ้นส่วน ด้วยการวัดโดยตรงและนำค่าที่ตรวจสอบได้นำไปเปรียบเที่ยบกับค่ามาตรฐาน ซึ่งชิ้นส่วนแต่ละอันจะต้องใช้เครื่องมือวัดละเอียดที่ผลิตมาเพื่อใช้งานเฉพาะทาง ดังนั้นผู้ใช้จะต้องศึกษาวิธีการใช้งานเป็นอย่างดี รวมทั้งการบำรุงรักษาเครื่องมือที่ใช้ด้วยเ การใช้งานอย่างถูกวิธีจะทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำและปลอดภัย
สาระการเรียนรู้
1. ฟิลเลอร์เกจ (Feeler Gauge)2. เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ (Vernier Caliper)3. ไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer)4. ไดแอลเกจ (Dial Gauge)5. พลาสติกเกจ (Plastic Gauge)6. เกจวัดกระบอกสูบ (Cylinder Gauge)
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. อธิบายวิธีการใช้งานเครื่องมือวัดละเอียดประเภทต่างๆได้2. อ่านค่าเครื่องมือวัดละเอียดประเภทต่างๆได้3. บอกข้อควรระวังการใช้เครื่องมือวัดละเอียดประเภทต่างๆได้4. บอกการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดละเอียดประเภทต่างๆได้
เครื่องมือวัดละเอียดชิ้นส่วนเครื่องยนต์
เครื่องมือวัดละเอียดในงานช่างยนต์ เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบการสึกหรอของชิ้นส่วน ด้วยการวัดโดยตรงและนำค่าที่ตรวจสอบได้ไปเปรียบเทียวกับค่ามาตรฐานของบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์เมื่อเปรียบเทียบค่าแล้วก็สรุปผลการสึกหรอของชิ้นส่วนว่าต้องเปลี่ยนหรือปรับแต่งแก้ไข หรือว่ายังใช้งานต่อไปได้ บางครั้งการตรวจสภาพของชิ้นส่วนด้วยสายตาของช่างก็ไม่สามารถระบุได้ว่าชิ้นส่วนนั้นสึกหรอเพียงใด ดังนั้นจึงต้องใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย เครื่องมือวัดละเอียดที่นำมาใช้ในงานช่วงยนต์มีอยู่หลายชนิดดังนี้
ฟิลเลอร์เกจ (Feeler Gauge)
ฟิลเลอร์เกจ (Feeler Gauge) (รูปที่ 4.1) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเกจความหนาฟิลเลอร์เกจทำมาจากเหล็กกล้าผ่านการรอบและชุบแข็ง มีลักษณะเป็นเหล็กแผ่นบางแบนเรียบหลายๆ แฟ่นรวมเป็นชุดเดียวกันมความเป็นสปริงเพื่อไม่ให้บิดตัวหรืองอตัวได้ง่ายและถูกร้อยรวมด้วยสลักไว้ในด้ามจับ ด้านปลายจะโค้งมนหรือเรียวเพื่อสะดวกต่อการใช้งานในจุดวัดที่อยู่ลึก ส่วนความยาวของฟิลเลอร์เกจนั้นมีหลายขนาดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน
ในฟิลเลอร์เกจหนึ่งชุดจะประกอบด้วยหลายๆแผ่นรวมเป็นชุดเดียวกัน ซึ่งในแต่ละแผ่นจะมีขนาดความหนาไม่เท่ากันและมีตัวเลขขนาดความหนากำกับไว้ทั้งในหน่วยอังฤษและเมตริก ตัวเลขด้านบนเป็นหน่วยอังกฤษมีหน่วยเป็นนิ้วหรือฟิลเลอร์นิ้ว ส่วนด้านล่างเป็นหน่วยเมตริกมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (รูปที่ 4.1) นั้นจะนำไปใช้สำหรับวัดและตรวจสอบระยะห่างระหว่างผิวชิ้นงานสองชิ้น เช่น วัดระยะห่างลิ้น วัดระยะห่างของหน้าทองขาว วัดระยะห่างปากแหวน วัดความโก่งของฝาสูบ เป็นต้น
เวอรร์เนียร์คาลิปเปอร์ (Vernier Caliper)
เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์เป็นเครื่องมือวัดที่แบ่งสเกลตามแนวความยาวคล้ายไม้บรรทัด สามารถวัดขนาดงานได้หลายลักษณะโดยรวมอยู่ในเครื่องมือชิ้นเดียว เช่น วัดขนาดภายนอก ขนาดภายใน ขนาดความยาว และความลึก เป็นต้น ในปัจจุบันเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์มีใช้งานอยู่หลายแบบซึ่งแล้วแต่ผู้ผลิตจะนำออกจำหน่าย โดยบางชนิดอาจใช้วัดงานเฉพาะด้าน ส่วนในงานด้านช่างยนต์จะใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์แบบที่ใช้งานทั่วไป (Universal Vernier Caliper)
1.ส่วนประกอบของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
ส่วนประกอบของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ (รูปที่ 4.2) จะประกอบด้วยส่วนหลักๆดังนี้
1. สเกลหลัก (Main Scale) มีโครงสร้างเป็นแผ่นเหล็กยาวคล้ายกับบรรทัดเหล็กและมีขีดสเกลมาตรฐานอยู่บนตัว ที่ด้านปลายจะมีปากวัดสำหรับใช้วัดขนาดภายนอกอยู่และด้านตรงข้ามจะมีหัวสำหรับวัดขนาดภายใน2. สเกลเลื่อน (Vernier Scale) จะมีร่องเพื่อสวมกับสเกลหลัก บนขอบของสเกลเลื่อนด้านล่างจะมีคำสเกลขยายค่าความละเอียด นอกจากนี้ยังมีปากวัดขนาดภายนอกและภายในเหมือนกับสเกลหลักสกรูล็อก (Clamp screw) ปุ่มปรับเลื่อน และก้านวัดลึกติดตั้งอยู่ด้วย3. ปากวัดขนาดภายนอก (Outside Caliper Jaws) ปากวัดขนาดภายนอกจะอยู่ที่สเกลหลัก 1 อัน เรียกว่าปากวัดตาย (Fixed Jaw) ส่วนอีก 1 อันจะอยู่กับสเกลเลื่อน เรียกว่า ปากเลื่อน (Slider) ในส่วนนี้สามารถเลื่อนเข้าออกได้โดยใช้นิ้วทั้งสี่ประคองสเกลหลักไว้แล้วใช้หัวแม่โป้งมือต้นและดึงปุ่มปรับเลื่อนเพื่อให้เคลื่อนที่เข้าออก ที่ด้านปลายของปากวัดจะออกแบบให้บางคล้ายคมมีด เพื่อใช้วัดงานในพึ้นที่คับแคบและลดหน้าสัมผัสกับชิ้นงาน ปากวัดขนาดภายนอกใช้สำหรับวัดขนาดความยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เป็นต้น4. ปากวัดขนานภายใน (Inside Caliper Jaws) ปากวัดนี้สามารถเลื่อนเข้าออกได้เหมือนกับปากกาวัดขนาดภายนอก ที่ปลายของปากกาวัดจะมีลักษณะปลายแหลมทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้วัดชิ้นงานที่เป็นรูหรือร่องขนาดเล็กๆ ปากวัดนี้จะใช้สำหรับวัดขนานเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของชิ้นงาน5. สกรูล็อก (Clamp screw) สกรูล็อกจะใช้สำหรับยึดตำแหน่งของปากวัดให้คงที่ ในกรณีที่ต้องการนำเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ออกจากชิ้นงานมาอ่านค่าเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการอ่านเมื่อต้องการล็อกให้หมุนสกรูล็อกตามเข็มนาฬิกาและเมื่อไปได้ใช้งานให้คลายออก6. ก้านวัดลึก (Depth Bar) ก้านวัดลึกจะยึดติดกับสเกลเลื่อนและเคลื่อนที่ไปพร้อมกัน ก้านวัดนี้ ใช้สำหรับวัดความลึกของชิ้นงาน ที่ด้านปลายสุดจะมีส่วนเว้าเล็กน้อยเพื่อใช้สำหรับวัดชิ้นงานที่ร่องขนาดเล็ก
2. การใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
การนำเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ไปใช้งาน สามารถนำไปใช้วัดชิ้นงานได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1. การวัดขนาดภายนอก เลื่อนปากเลื่อนเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ให้กว้างกว่าขนาดของชิ้นงานที่จะวัดเล็กน้อย จัดให้ชิ้นงานอยู่ดังรูปที่ 4.3 ก จากนั้นเลื่อนปากเลื่อนเข้าหาชิ้นงานจนปากเลื่อนสัมผัสกับชิ้นงานพอดี และผ่านค่าที่วัดได้
2. การวัดขนาดภายใน การวัดขนาดภายใน ก่อนการวัดให้เลื่อนปากวัดในแคบกว่าชิ้นงานเล็กน้อย จากนั้นเลื่อนปากวัดออกจนสัมผัสกับชิ้นงานพอดีในขณะเดียวกันก็ให้ปรับตำแหน่งของปากวัดให้อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของชิ้นงาน (รูปที่ 4.4 ก)
3. การวัดขนาดความลึก การวัดขนาดความลึกให้ใช้ส่วนปลายของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์วางแนบกับชิ้นงานที่จะวัด และให้ปลายของก้านวัดลึกอยู่เหนือผิวชิ้นงานเล็กน้อย จากนั้นค่อยๆ เลื่อนก้านวัดลึกลงจนสัมผัสกับชิ้นงาน การวัดขนาดความลึกที่ถูกต้องดังรูปที่ 4.5
3.การแบ่งสเกลของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ที่ใช้งานมีอยู่หลายขนาดในงานช่างยนต์นิยมใช้ความละเอียดขนาด 1/50 หรือ 0.02 มิลลิเมตร
1. หลักการแบ่งสเกลของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ความละเอียด 0.02 มิลลิเมตร มีดังนี้
สเกลหลัก แข่งความยาว 1 เซนติเมตรออกเป็น 10 ช่อง แต่ละช่องมีความยาว 1 มิลลิเมตร
สเกลเลื่อน แบ่งเป็น 50 ช่อง มีความยาวเท่ากับ 49 มิลลิเมตร 1 ช่องบนสเกลเลื่อน มีความยาว 49/50 มิลลิเมตรหรือเท่ากับ 0.98 มิลลิเมตร
ดังนั้นเมื่อขีด 0 ของสเกลทั้งสองตรงกัน จะมีขนาดความยาวดังนี้ขีดที่ 1 ของสเกลเลื่อนเยื้องกับขีดสเกลหลัก 1 มิลลิเมตร = 1 – (1 x 0.98) = 0.02 มิลลิเมตรขีดที่ 2 ของสเกลเลื่อนเยื้องกับขีดสเกลหลัก 2 มิลลิเมตร = 2 – (2 x 0.98) = 0.04 มิลลิเมตรขีดที่ 3 ของสเกลเลื่อนเยื้องกับขีดสเกลหลัก 3 มิลลิเมตร = 3 – (3 x 0.98) = 0.06 มิลลิเมตรขีดที่ 10 ของสเกลเลื่อนเยื้องกับขีดสเกลหลัก 10 มิลลิเมตร = 10 – (10 x 0.98) = 0.20 มิลลิเมตร
4.วิธีอ่านค่าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
วิธีอ่านค่าจากเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ความละเอียด 0.02 มิลลิเมตร ให้อ่านตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. อ่านค่าบนสเกลหลัก ซึ่งมีหน่อยเป็นมิลลิเมตร โดยพิจารณาจากขีด 0 ของสเกลเลื่อนผ่านขีดจำนวนเต็มของสเกลหลักไปกี่ขีด เช่น 2 มิลลิเมตร 6 มิลลิเมตร เป็นต้น 2. อ่านค่าบนสเกลเลื่อน โดยพิจารณาจากขีดของสเกลเลื่อนตรงกับขีดของสเกลหลักมากที่สุดเพียงขีดเดียว เช่น 0.02 มิลลิเมตร 0.06 มิลลิเมตร เป็นต้น
3. นำค่าที่อ่านได้จากสเกลหลักและสเกลเลื่อนมารวมกัน
จากรูปที่ 4.7 อ่านค่าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ได้ดังนี้
ค่าสเกลหลัก (1) = ขีดศูนย์ของสเกลเลื่อนผ่าน 1 มิลลิเมตรไปแล้วแต่ยังไม่ถึงขีด 2 มิลลิเมตรดังนั้นค่าสเกลหลักจึงเท่ากับ 1 มิลลิเมตร
ค่าสเกลเลื่อน (2) = จากรูปขีดที่ 25 ของสเกลเลื่อนตรงกับขีดของสเกลหลัก ดังนั้น ค่าสเกลเลื่อนจึงเท่ากับ 0.50 มิลลิเมตร
นำค่าสเกลหลักและสเกลเลื่อนมารวมกัน
ค่าที่อ่านได้จากสเกลหลัก = 1.00 มิลลิเมตร
ค่าที่อ่านได้จากสเกลเลื่อน = 0.50 มิลลิเมตร
ดังนั้นค่าที่อ่านได้ = 1 + 0.50 มิลลิเมตร = 1.50 มิลลิเมตร
5.ข้อควรระวังการใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
5.1 อย่าใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์วัดชิ้นงานขณะที่มีอุณหภูมิสูง เพราะค่าที่วัดได้อาจคลาดเคลื่อน
5.2 อย่าใข้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์วัดชิ้นงานไปขณะที่กำลังหมุนอยู่
5.3การวัดในแนวแกรควรให้แหนวแกนของเครื่องมือวัดและของชิ้นงานทับกันเพราะถ้าแนวแกนทั้งสองไม่ทับกันจะทำให้ค่าที่วัดได้คลาดเคลื่อนไป
5.4 แรงกดระหว่างปากวัดหรือก้านวัดลึกจะต้องใช้แรงกดที่พอเหมาะ ถ้าใช้แรงกดไม่พอเหมาะค่าที่วัดจะคลาดเคลื่อนไป ถ้าใช้แรงกดมากเกินไปอาจจะทำให้ก้านวัดลึกโก่ง หรือปากวัดของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์เสียหายได้
ไมโครมิเตอร์วัดนอก (outside Micrometer)
ไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer) เป็นเครื่องมือวัดละเอียดสำหรับนำไปใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากสามารถให้ค่าการวัดได้ละเอียดและมีความเที่ยงตรงสูงกว่าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ส่วนงานทางด้านช่างยนต์สามารถนำมาใช้เพื่อตรวจสอบขนาดของชิ้นส่วน เช่น วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกสูบ สลักลูกสูบ ข้อหลักและข้อก้านของเพลาข้อเหวี่ยง ความหนาของจานดิสก์เบรก เป็นต้น
ไมโครมิเตอร์วัดนนอกมีหลายขนาดและถูกออกแบบให้เลือกใช้ได้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงานแต่ละอันมีช่วงการวัดได้เพียง 25 มิลลิเมตร (มม.) เท่านั้น โดยมีขนาดตั้งแต่ 0-25 มิลลิเมตร,25-50 มิลลิเมตร,50-75 มิลลิเมตร,75-100 มิลลิเมตร,100-125 มิลลิเมตร และ 125-150 มิลลิเมตร
1.ส่วนประกอบไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer)
ไมโครมิเตอร์วัดนอกจะประกอบด้วยส่วนหลักๆดังนี้
1. แกนรับ (Anvil) ลักษณะแกนรับจะเป็นเพลากลมดันที่ด้านปลายทำจากเหล็กคาร์ไบด์เพื่อเสริมให้เกิดความแข็งแรงสำหรับป้องกันการสึกหรอจากการสัมผัสกับชิ้นงานที่ตรวจวัด แกนรับจะประกอบยึดติดกับโครงของไมโครมิเตอร์ด้วยการสวมอันเป็นชุดเดียวกัน
2. แกนวัด (Spindle) ลักษณะแกนวัดจะเหมือนแกนรับทุกประการ แกนจัดจะยึดติดกับสลักเกลียวเพื่อให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
3. โครง (Frame) มีลักษณะเหมือนตัวซี มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง มีไว้เพื่อนำชิ้นส่วนอื่นๆมาประกอบเป็นไมโครมิเตอร์และสำหรับจับเวลาตรวจวัดชิ้นงาน
4. ปุ่มล็อก (Thimble Lock) ทำหน้าที่สำหรับยึดแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่ เมื่อหมุนปลอกเลื่อนจนแกนวัดสัมผัสชิ้นงานถ้าต้องการไม่ให้แกนวัดเคลื่อนที่ให้ดันปุ่มล็อกไปทางซ้ายมือ เมื่อต้องการปลดให้ดันไปทางด้านตรงข้าม ปุ่มล็อกจะมี 2 แบบ คือ แบบใช้วงแหวนและแบบใช้กระเดื่อง
5. สเกลหลักหรือปลอกวัด (Sleeve) มีลักษณะเป้นทรงกระบอกสวมอยู่กับโครงสามารถปรับหมุนได้ ที่ผิวของสเกลหลักจะมีเส้นขีดยาวในแนวนอนเราเรียกว่า เส้นอ้างอิง (Index Line) ด้านบนและด้านล่างของเส้นอ้างอิงจะมีขีดแบ่งช่องเพื่อกำหนดค่าของสเกลหลัก
6. ปลอกเลื่อนหรือปลอกหมุนวัด (Thimble) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกสวมอยู่บนสเกลหลักและสามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้ ที่ปลายด้านในจะลาดเอียงและมีขีดแบ่งช่องเพื่อกำหนดค่าส่วนด้านนอกจะพิมพ์ลายเพื่อสะดวกในการหมุนเข้าออก
7. หัวหมุนกระทบ (Ratchet stop) จะอยู่ด้านท้ายสุดของแกนวัดเมื่อหมุนปลกเลื่อนสัมผัสชิ้นงานแล้ว ให้ปรับแกนวัดสัมผัสชิ้นงานได้พอดีและไม่ตึงเกินไป เราจะปรับหัวหมุนกระทบโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาซึ่งจะมีเสียงดังคลิกโดยให้เสียงดัง 2 – 3 คลิกเท่านั้น
2.ขั้นตอนการใช้ไมโครมิเตอร์
2.1 ทำความสะอาดไมโครมิเตอร์โดยใช้ผ้าที่อ่อนนุ่มเช็ดฝุ่น คราบสกปรกบนโครง ปลอกเลื่อนรวมถึงแกนรับและแกนวัด
2.2 จัดตำแหน่งของแกนรับให้สัมผัสกับชิ้นงานให้สนิทเสียก่อน
2.3 ค่อยๆหมุนปลอกเลื่อนจนหน้าสัมผัสแกนวัดสัมผัสแกนวัดสัมผัสชิ้นงานและต้องตั้งฉากกับผิวงาน ที่จะวัดหมุนหัวหมุนกระทบจนมีเสียง 3 คลิก เพื่อให้ชิ้นงานแนบกับเครื่องมือ
2.4 ปรับปุ่มล็อกเพื่อไม่ให้แกนวัดเคลื่อนที่ จากนั้นอ่านค่าไมโครมิเตอร์
3.การแบ่งขีดสเกล ไมโครมิเตอร์ความละเอียด 0.01 มิลลิเมตร (1/100 มิลลิเมตร)
1. ค่าบนสเกลหลัก จากรูปที่ 4.11 เป็นไมโรมิเตอร์วัดนอกขนาด 0-25 มิลลิเมตร ค่าบนสเกลหลักจะมีค่าตั้งแต่ 0-25 มิลลิเมตร 1 ช่องด้านบนสเกลหลักมีค่าเท่ากับ 1 มิลลิเมตร ทุกๆ 5 ช่องจะมีขีดยาวพร้อมตัวเลขกำกับไว้ส่วน 1 ช่องด้านล่างบนสเกลหลักจะอยู่กึ่งกลางของช่องด้านบนมีค่าเท่ากับ 0.5 มิลลิเมตร (1 รอบของปลอกเลื่อน)
2. ค่าบนปลอกเลื่อน จากรูปที่ 4.11 บนปลอกเลื่อนจะแบ่งรอบขอบเอียงออกเป็น 50 ช่อง และทุกๆ5ช่องจะมีเลขกำกับไว้ คือ,0,5 ถึง 45 เมื่อหมุนปลอกเลื่อนครบ 1 รอบจะทำให้แกนวัดห่างจากจุดเดิมไป 0.5 มิลลิเมตร (ขีด 0 บนปลอกเลื่อนตรงกับเส้นอ้างอิงบนสเกลหลักพอดี) แต่ถ้าหมุนปลอกเลื่อนไปเพียง 1 ช่อง แกนวัดจะเคลื่อนที่ไปจากเติมเท่ากับ 0.01 มิลลิเมตร (1/100 มิลลิเมตร หรือ 1 ใน 100 ของมิลลิเมตร)
4.การอ่านค่าไมโครมิเตอร์วัดนอกความละเอียด 0.01 มิลลิเมตร
การอ่านค่าไมโครมิเตอร์ที่ได้จากการวัดให้อ่านจาก 3 ส่วน ดังนี้
1. อ่านค่าจำนวนเต็มซึ่งอยู่ด้านบนของสเกลหลักก่อน จากนั้นอ่านค่าทศนิยมในด้านล่างของสเกลหลัก
2. อ่านค่าจากปลอกเลื่อน
3. นำค่าจากสเกลหลักและปลอกเลื่อนมารวมกัน
อ่านค่าบนสเกลหลัก
จากรูปที่ 4.12 ขอบปลอกเลื่อนหมุนผ่านขีดบนสเกลหลักไป 1 ช่อง ดังนั้นอ่านค่าด้านบนสเกลหลักได้เท่ากับ 1.00 มิลลิเมตร
ขีดด้านล่างสเกลหลักยังไม่พ้นขอบขอบปลอกเลื่อน ดังนั้นไม่ต้องนำค่ามารวมกับค่าด้านบนสเกลหลัก
ดังนั้นค่าบนสเกลหลัก = 1.00 มิลลิเมตร
อ่านค่าบนปลอกเลื่อน
ดูเส้นอ้างอิงบนสเกลหลักตรงกับขีดที่เท่าไรบนปลอกเลื่อน และค่าที่อ่านได้จะเป็เลขจุทศนิยม จากรูปที่ 4.12 ขีดที่ 49 บนปลอกเลื่อนตรงกับเส้นอ้างอิงบนสเกลหลัก
ดังนั้นค่าบนปลอกเลื่อน = (49 x 0.01)
= 0.49 มิลลิเมตร
นำค่าบนสเกลหลักและปลอกเลื่อนมารวมกัน
ค่าที่อ่านได้จากไมโครมิเตอร์ = ค่าบนสเกลหลัก + ค่าบนปลอกเลื่อน
= 1.00 + 0.49
= 1.49 มิลลิเมตร
5.ข้อควรระวังการใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอก
ไมโครมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดละเอียด ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ค่าที่ได้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ข้อควรระวังการใช้ไมโครมิเตอร์มีดังนี้
1. การวัดงานทีมีผิวขนานกันขณะวัดจะต้องให้แนวแกนของแกนรับและแกนวัดตั้งฉากกับผิวงาน
2. การวัดงานกลมทรงกระบอก ผิวงานกลมไม่สามารถบังคับผิวสัมผัสของแกนรับและแกนวัดให้ตั้งฉากกับผิวงานได้ ดังนั้นจะต้องปรับแนวแกนของไมโครมิเตอร์ให้ถูกต้อง ในกรณีที่ชิ้นงานกลมขนาดใหญ่จะต้องปรับให้แนวแกนวัดและแกนรับของไมโครมิเตอร์ผ่านจุดศูนย์กลางของชิ้นงาน
6.การบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์วัดนอก
ไมโครมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดละเอียด ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ค่าที่ได้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ข้อควรระวังการใช้ไมโครมิเตอร์มีดังนี้
1. อย่านำไมโครมิเตอร์วัดงานที่ร้อนและขณะที่งานกำลังหมุนอยู่
2. ควรเก็บและวางไมโครมิเตอร์ยากออกจากเครื่องมือชนิดอื่น
3. ก่อนแกนวัดจะสัมผัสกับชิ้นงาน ให้หมุนปลอกเลื่อนช้าๆ และเมื่อสัมผัสให้ใช้หัวหมุนกระทบ
4. เมื่อเลิกใช้ไมโครมิเตอร์ต้องเช็ดทำความสะอาดและชโลมส่วนที่ขัดมันด้วยวาสลิน หรือนำไปแช่น้ำมันไว้
5. อย่าดึงไมโครมิเตอร์ออกจากชิ้นงานมาอ่านค่าโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ผิวหนังสัมผัสของแกนรับและแกนวัดสึกหรอ
6. เลือกใช้ไมโครมิเตอร์ให้มีขนาดเหมาะสมกับงาน เช่น ไมโครมิเตอร์ขนาด 50-75 มิลลิเมตรใช้วัดงาน 60 มิลลิเมตร ห้ามใช้วัดงานที่มีขนาด 78 มิลลิเมตร
7. ควรตรวจสอบหน้าสัมผัสของแกนรับและแกนวัดอยู่เสมอ
8. หลังจากใช้ปุ่มล็อกยึดแกนวัดแล้ว อย่าลืมปลดปุ่มเลือกเมื่อจะใช้งานครั้งต่อไป
ไดแอลเกจ (Dial Gauge)
ไดแอลเกจหรือเรียกอย่างหนึ่งว่านาฬิกาวัด เป็นเครื่องมือวัดพร้อมเข็มและหัวรัด ซึ่งเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ในงานด้านช่างยนต์จะนำมาใช้สำหรับวัดค่าความคลาดเคลื่อนของชิ้นส่วน เช่น วัดระยะรุนของเพลาข้อเหวี่ยง วัดความโค้งงอของเพลา วัดระยะห่างฟันเฟือง เป็นต้น
ไดแอลเกจจะต้องใช้ร่วมกับฐานหรือขาตั้ง ซึ่งขาตั้งจะมีอยู่ 2 ชนิด คือแบบฐานยึดเป็นแม่เหล็กและแบบไม่เป็นแม่เหล็ก แบบฐานยึดเป็นแม่เหล็กจะใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วกว่าเพราะสามารถยึดติดกับพื้นที่เป็นโลหะโดยไม่ต้องใช้มือจับ ส่วนแขนยึดกับไดแอลเกจสามารถปรับได้หลายทิศทางเพื่อความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
1.ส่วนประกอบของไดแอลเกจ
ไดแอลเกจที่ใช้งานทางด้านช่างยนต์จะเป็นแบบอ่านค่าได้ 2 ทาง โดยเข็มจะเคลื่อนที่ไปทั้งด้านตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา เข็มยาวกับเข็มสั้นจะเคลื่อนที่สวนทางกันเมื่อแกนวัดยุบเข้าเข็มยาวจะเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกา ส่วนเข็มสั้นจะเคลื่อนที่ตรงข้าม ในทำนองเดียวกันถ้าแกนวัดยื่นออกเข็มยาวจะเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกา ส่วนค่าที่หน้าปัดจะแบ่งจากขีดศูนย์ทั้งสองด้านเท่ากัน ภายในไดแอลเกจจะประกอบด้วย เฟืองสะพานเฟืองขับและเฟืองตาม เพื่อเปลี่ยนการเคลื่อนที่ของแกนวัดเป็นกาวหมุนของเข็มบนหน้าปัด ส่วนประกอบของไดแอลเกจ (รูปที่ 4.15) จะประกอบด้วย เข็มวัดยาว เข็มวัดสั้น หน้าปัดสามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ใช้เพื่อปรับตั้งตำแหน่งศูนย์แกนวัด (Spindle) และหัววัด (Measuring head) ซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับชิ้นงานที่ต้องการวัด สามารถถอดเปลี่ยนให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่ต้องการจะวัดได้ เช่น แบบยาว ใช้สำหรับวัดชิ้นส่วนในพื้นที่จำกัด แบบล้อเลื่อนใช้วัดผิวโค้ง แบบโยกขึ้นลงใช้วัดชิ้นงานที่แกว่งไปมาไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง แบบแผ่นแบนใช้วัดผิวนูนของลูกสูบ เป็นต้น
2.การใช้ไดแอลเกจ
2.1 ประกอบไดแอลเกจเข้ากับขาตั้ง และยึดขาตั้งในตำแหน่งที่มั่นคง
2.2 ปรับตำแหน่งหัววัดให้อยู่ตำแหน่งที่วัดปรับหัววัดให้ตั้งฉากกับผิวงานเสมอและปรับจุดสัมผัสหัววัดให้ได้ระยะศูนย์กลางการเคลื่อนที่
2.3 ปรับให้แกนวัดยุบเข้าไปประมาณ 2-3 มิลลิเมตร (สังเกตเข็มสั้น) จากนั้นปรับหน้าปัดให้เลขศูนย์ตรงกับเข็มยาว
2.4 หมุนชิ้นงานช้าๆ สังเกตการณ์แกว่งของเข็มบนหน้าปัด และอ่านค่า
3.การอ่านค่าไดแอลเกจ
การแข่งขีดสเกลของไดแอลเกจ
ไดแอลเกจที่นิยมใช้ในงานด้านช่างยนต์จะเป็นแบบ 2ทาง มีค่าความละเอียด 0.01 มิลลิเมตร (1/100 มิลลิเมตร) มีช่วงการวัด 10 มิลลิเมตร บนหน้าปัดของไดแอลเกจจะมีขีดสเกล อยู่ 2 ส่วน คือ
ขีดสเกลวงนอก ซึ่งเข็มยาวจะชี้ค่าที่ได้จากการวัด เข็มยาวหมุน 1 รอบ มีค่าเท่ากับ 1 มิลลิเมตร 1 ช่องเล็กมีค่าเท่ากับ 0.01 มิลลิเมตร
ขีดสเกลวงกลมเล็กด้านใน เข็มสั้นจะชี้ เข็มสั้นจะหมุนสวนทางกับเข็มยาว เมื่อเข็มยาวเคลื่อนที่ไป 1 รอบ เข็มสั้นจะเคลื่อนที่ไป 1 ขีดหรือ 1 มิลลิเมตร
หลักการอ่านค่าไดแอลเกจ
1. อ่านค่าตัวเลขบนหน้าปัด โดยสังเกตเข็มวัดยาว ถ้าเข็มเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกาเป็นค่าบวกและเข็มที่เคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกาจะเป็นค่าลบ
2. เมื่อได้ค่าจากการซื้อของเข็มแล้ว ให้ตรวจดูจำนวนรอบของเข็มชี้โดยดูจากหน้าปัด บอกจำนวนรอบของเข็มชี้ แล้วนำค่ามารวมกัน
3. ถ้าต้องการหาค่าความแตกต่าง ให้นำค่าตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกามาลบกันจะได้ค่าความแตกต่างของการสึกหรอหรือความโก่งงอ
ตัวอย่างการอ่านค่าไดแอลเกจ
4.ข้อควรรถวังและการบำรุงรักาไดแอลเกจ
4.1 อย่าทำให้ไดแอลเกจตก หล่นหรือกระกระแทกกับพื้น เพราะจะทำให้กลไกภายในเสียหาย
4.2 เก็บรักษาไดแอลเกจไม่ให้ถูกฝุ่นละอองและน้ำ
4.3 ห้ามใช้ลมเป่า หรือหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในไดแอลเกจ
4.4 ไม่เก็บไดแอลเกจปนกับเครื่องมือซ่อมทั่วไป
พลาสติกเกจ (Plastic Gauge)
พลาสติกเกจ (Plastic Gauge) (รูปที่ 4.18) เป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะช่องว่างน้ำมันของชิ้นส่วนสองชิ้นที่ประกบและขันยึดด้วยนัต ส่วนมากนิยมนำมาใช้ตรวจสอบช่องว่างน้ำมันชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น ช่องว่างน้ำมันระหว่างเพลาข้อเหวี่ยงและประกับข้อหลัก เพลาข้อเหวี่ยงและประกับก้านสูบ เป็นต้น พลาสติกเกจจะมีลักษณะเป็นเส้นกลมเล็กๆ ผลิตมาจากพลาสติกอ่อนสอดอยู่ในซอง ที่ข้างซองบรรจุจะมีสเกลค่าขนาดความหนาเพื่อนำไปเปรียบเทียบค่าหลังจากตรวจวัด พลาสติกเกจที่ใช้งานจะมีทั้งหมด 3 สี โดยแต่ละสีจะแสดงช่องว่างการวัดที่แตกต่างกันดังนี้
สีเขียว ระยะช่องว่างการวัด 0.025 – 0.076 มิลลิเมตร
สีแดง ระยะช่องว่างการวัด 0.051 – 0.152 มิลลิเมตร
สีน้ำเงิน ระยะช่องว่างการวัด 0.102 – 0.229 มิลลิเมตร
1.วิธีใช้พลาสติกเกจ
การเลือกใช้ขนาดความหนาของพลาสติกเกจนั้นขึ้นอยู่กับค่ามาตรฐานของชิ้นงานที่ต้องการจะตรวจสอบพื้นผิวระหว่างที่จะวัดต้องถูกแยกออกก่อนและประกอบกลับไปยังตำแหน่งเดิมโดยมีพลาสติกเกจแทรกอยู่ตรงกลาง วิธีการใช้งานพลาสติกเกจให้ปฏิบัติดังนี้
1. ทั้งความความสะอาดพื้นผิวของแบริ่งและพื้นผิวของเครื่องยนต์ให้สะอาดด้วยผ้าสะอาด
2. ตัดพลาสติกเกจให้พอดีกับพื้นผิวที่ต้องการวัดและวางพลาสติกเกจลงบนชิ้นงาน
3. ประกอบชิ้นส่วนและขันนัตยึดให้ได้ค่าแรงบิดที่กำหนด
4. ถอดนัตยึดและประกับออก
5. ใช้ค่าสเกลจากข้างนอกของพลาสติกเกจเพื่อตรวจสอบความหนา โดยให้วัดความหนาจุดที่กว้างที่สุดของพลาสติกเกจ
เกจวัดกระบอกสูบหรือเรียกอย่างหนึ่งว่าไซลินเดอร์เกจ (Cylinder Gauge) เป็นเครื่องมือที่นิยมนำมาใช้งานทางช่างยนต์เพื่อใช้วัดการสึกหรอของกระบอกสูบ ในชุดของเกจวัดกระบอกสูบ (รูปที่ 4.23) จะประกอบด้วยไดแอลเกจ ด้ามจับ แหวนปรับตั้ง และก้านเสริมซึ่งสามารถเปลี่ยนขนาดได้การใช้งานเกจวัดกระบอกสูบจะต้องใช้ร่วมกับไมโครมิเตอร์วัดนอก
1.วิธีใช้เกจวัดกระบอกสูบ
1.1 เตรียมความพร้อมเครื่องมือก่อนวัด เลือกขนาดก้านเสริมที่เหมาะสมกับชิ้นงาน โดยให้ปฏิบัติดังนี้
· ใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ตรวจสอบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของชิ้นงาน เพื่อหาขนาดมาตรฐาน (รูปที่ 4.24)
· เลือกก้านเสริมและใช้แหวนปรับตั้งเพื่อให้มีความยาวมากกว่าขนาดมาตรฐานที่ตรวจสอบไว้ประมาณ 0.5 – 1.0 มิลลิเมตร (ก้านเสริมมีขนาดคงที่) เลือกความยาวของก้านเสริมให้เหมาะสมและใช้แหวนปรับตั้งรองอีกครั้งหนึ่ง เช่น ใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ตรวจสอบขนาดได้เท่ากับ 95.40 มิลลิเมตร และใช้แหวนปรับตั้ง 0.5 มิลลิเมตร เมื่อรวมกันก็จะมีขนาดยาวเท่ากับ 95.50 มิลลิเมตร· ติดตั้งไดแอลเกจเข้าด้ามจับ (รูปที่ 4.25) ดันเข้ากับด้ามจับให้เข็มสั้นเคลื่อนที่ไปประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร
1.2 ปรับความเที่ยงตรงของเกจวัดกระบอกสูบ การปรับความเที่ยงตรงก็คือการปรับค่าศูนย์ของไดแอลเกจเพื่อใช้เป็นขนาดอ้างอิง การปรับจะใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอกปรับตั้ง วิธีการให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. เลือกขนาดของไมโครมิเตอร์วัดนอกให้อยู่ในช่วงของขนาดที่ตรวจสอบไว้
2. ติดตั้งไมโครมิเตอร์วัดนอกกับแท่นยึด (รูปที่ 4.26) ถ้าไม่มีแฟนจับยึดให้ใช้ปากกาจับชิ้นงานได้ โดยใช้ผ้ารองที่ปากของปากกาจับชิ้นงาน
3. ปรับตั้งไมโครมิเตอร์ให้ได้ค่าเท่ากับขนาดของชิ้นงานรวมกับแหวนปรับตั้ง จากนั้นล็อกแกนวัดของไมโครมิเตอร์วัดนอก
4. นำขุดหัววัดของเกจวัดกระบอกสูบเข้ากับไมโครมิเตอร์วัดนอกที่ปรับขนาดไว้ (แกนวัดของเกจวัดกระบอกสูบอยู่ตำแหน่งกึ่งกลางแนวเดียวกับแกนของไมโครมิเตอร์) (รูปที่ 4.27) จากนั้นโยกเกจวัดกระบอกสูบ สักเกตการเคลื่อนที่ของเข็มที่ไดแอลเกจจะมีค่าเพิ่มขึ้นให้หยุดการโยกและให้โยกกลับเข็มจะเคลื่อนที่กลับ ให้สังเกตตำแหน่งเข็มที่แคบที่สุด เมื่อได้ตำแหน่งแล้วให้หมุนหน้าปัดไดแอลเกจให้ขีดศูนย์ตรงกับเข็มยาว (รูปที่ 4.28) ดังนั้นตำแหน่งนี้คือที่ได้เท่ากับขนาดของชิ้นงานรวมกับแหวนปรับตั้ง
1.3 การวัดชิ้นงาน
1. ทำความสะอาดชิ้นงาน
2. นำชุดหัววัดใส่เข้าไปในชิ้นงานที่ต้องวัด (ตามตำแหน่งที่ต้องการวัด โดยเอียงด้านแผ่นนำซึ่งยุบตัวได้เข้าไปก่อน (รูปที่ 4.29)
3. ยกเกจวัดกระบอกสูบขึ้นและลง ดังรูปที่ 4.30 เพื่อหาตำแหน่งที่แคบที่สุด (ก้านเสริมตั้งฉากกับพื้นผิวที่วัด) อ่านค่าในตำแหน่งที่เข็มของไดแอลเกจเคลื่อนที่แคบที่สุด
4. อ่านค่าที่ไดแอลเกจ ในขณะวัดให้สังเกตการณ์เคลื่อนที่ออกจากขีดศูนต์ของเข็มยาว (รูปที่ 4.31)
ถ้าเข็มยาวเคลื่อนที่จากขีดศูนย์ทวนเข็มนาฬิกา ให้นำค่าที่อ่านได้มารวมกับค่าที่ตั้งไว้
ถ้าเข็มยาวเคลื่อนที่จากขีดศูนย์ทวนเข็มนาฬิกา ให้นำค่าที่อ่านได้มาลบกับค่าที่ตั้งไว้
ตัวอย่างการอ่านค่า
จากรูปที่ 4.32 สมมุติตั้งค่าที่เลขศูนย์ที่ 94.40 มิลลิเมตร เข็มยาวชี้ไปขีดที่ 5 ทางขวามือหรือตามเข็มนาฬิกา มีค่าเท่ากับ 0.05 มิลลิเมตร ให้นำค่าที่อ่านได้มาลบกับค่าที่ตั้งไว้ 94.40 มิลลิเมตร ดังนั้นจะได้เท่ากับ
= 94.40 – 0.05
= 94.35 มิลลิเมตร
2.การบำรุงรักษาเกจวัดกระบอกสูบ
2.1 เก็บเครื่องมือวัดแยกออกจากเครื่องมืออื่นๆ
2.2 อย่านำเครื่องมือวัดไปใกล้ที่ร้อนจัด เย็นจัด
2.3 อย่าทำเครื่องมือวัดหล่นพื้น
2.4 ทำความสะอาดและหล่อลื่นทุกครั้งหลังการใช้งาน
คำศัพท์ท้ายหน่วย
Feeler Gauge = ฟิลเลอร์เกจหรือเกจความหนา
Vernier Callper = เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
Main Scale = สเกลหลัก
Vernier Scale = สเกลเลื่อน
Clamp screw = สกรูล็อก
Outside Callper Jaws = ปากวัดขนาดภายนอก
Fixed Jaw = ปากวัดตาย
Inside Caliper Jaws = ปากวัดขนาดภายใน
Depth Bar = ก้านวัดลึก
Outside Micrometer = ไมโครมิเตอร์วัดนอก
Anvil = แกนรับ
Spindle = แกนวัด
Frame = โครง
Thimble Lock = ปุ่มล็อก
Sleeve = สเกลหลักหรือปลอกวัด
Index Line = เส้นอ้างอิง
Ratchet stop = หัวหมุนกระทบ
Measuring head = หัววัด
Plastic gauge = พลาสติกเกจ
Dial Gauge = ไดแอลเกจหรือนาฬิกาวัด
Thimble = ปลอกเลื่อนหรือปลอกหมุนวัด
Cylinder Gauge = เกจวัดกระบอกสูบหรือไซลินเตอร์เกจ
เครื่องมือวัดละเอียดในงานช่างยนต์ เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบการสึกหรอของชิ้นส่วน ด้วยการวัดโดยตรงและนำค่าที่ตรวจสอบได้ไปเปรียบเทียวกับค่ามาตรฐานของบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์เมื่อเปรียบเทียบค่าแล้วก็สรุปผลการสึกหรอของชิ้นส่วนว่าต้องเปลี่ยนหรือปรับแต่งแก้ไข หรือว่ายังใช้งานต่อไปได้ บางครั้งการตรวจสภาพของชิ้นส่วนด้วยสายตาของช่างก็ไม่สามารถระบุได้ว่าชิ้นส่วนนั้นสึกหรอเพียงใด ดังนั้นจึงต้องใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย เครื่องมือวัดละเอียดที่นำมาใช้ในงานช่วงยนต์มีอยู่หลายชนิดดังนี้
ฟิลเลอร์เกจ (Feeler Gauge) (รูปที่ 4.1) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเกจความหนาฟิลเลอร์เกจทำมาจากเหล็กกล้าผ่านการรอบและชุบแข็ง มีลักษณะเป็นเหล็กแผ่นบางแบนเรียบหลายๆ แฟ่นรวมเป็นชุดเดียวกันมความเป็นสปริงเพื่อไม่ให้บิดตัวหรืองอตัวได้ง่ายและถูกร้อยรวมด้วยสลักไว้ในด้ามจับ ด้านปลายจะโค้งมนหรือเรียวเพื่อสะดวกต่อการใช้งานในจุดวัดที่อยู่ลึก ส่วนความยาวของฟิลเลอร์เกจนั้นมีหลายขนาดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน
ในฟิลเลอร์เกจหนึ่งชุดจะประกอบด้วยหลายๆแผ่นรวมเป็นชุดเดียวกัน ซึ่งในแต่ละแผ่นจะมีขนาดความหนาไม่เท่ากันและมีตัวเลขขนาดความหนากำกับไว้ทั้งในหน่วยอังฤษและเมตริก ตัวเลขด้านบนเป็นหน่วยอังกฤษมีหน่วยเป็นนิ้วหรือฟิลเลอร์นิ้ว ส่วนด้านล่างเป็นหน่วยเมตริกมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (รูปที่ 4.1) นั้นจะนำไปใช้สำหรับวัดและตรวจสอบระยะห่างระหว่างผิวชิ้นงานสองชิ้น เช่น วัดระยะห่างลิ้น วัดระยะห่างของหน้าทองขาว วัดระยะห่างปากแหวน วัดความโก่งของฝาสูบ เป็นต้น
เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์เป็นเครื่องมือวัดที่แบ่งสเกลตามแนวความยาวคล้ายไม้บรรทัด สามารถวัดขนาดงานได้หลายลักษณะโดยรวมอยู่ในเครื่องมือชิ้นเดียว เช่น วัดขนาดภายนอก ขนาดภายใน ขนาดความยาว และความลึก เป็นต้น ในปัจจุบันเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์มีใช้งานอยู่หลายแบบซึ่งแล้วแต่ผู้ผลิตจะนำออกจำหน่าย โดยบางชนิดอาจใช้วัดงานเฉพาะด้าน ส่วนในงานด้านช่างยนต์จะใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์แบบที่ใช้งานทั่วไป (Universal Vernier Caliper)
1. การวัดขนาดภายนอก เลื่อนปากเลื่อนเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ให้กว้างกว่าขนาดของชิ้นงานที่จะวัดเล็กน้อย จัดให้ชิ้นงานอยู่ดังรูปที่ 4.3 ก จากนั้นเลื่อนปากเลื่อนเข้าหาชิ้นงานจนปากเลื่อนสัมผัสกับชิ้นงานพอดี และผ่านค่าที่วัดได้
สเกลหลัก แข่งความยาว 1 เซนติเมตรออกเป็น 10 ช่อง แต่ละช่องมีความยาว 1 มิลลิเมตร
สเกลเลื่อน แบ่งเป็น 50 ช่อง มีความยาวเท่ากับ 49 มิลลิเมตร 1 ช่องบนสเกลเลื่อน มีความยาว 49/50 มิลลิเมตรหรือเท่ากับ 0.98 มิลลิเมตร
นำค่าสเกลหลักและสเกลเลื่อนมารวมกัน
ค่าที่อ่านได้จากสเกลหลัก = 1.00 มิลลิเมตร
ค่าที่อ่านได้จากสเกลเลื่อน = 0.50 มิลลิเมตร
ดังนั้นค่าที่อ่านได้ = 1 + 0.50 มิลลิเมตร = 1.50 มิลลิเมตร
5.1 อย่าใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์วัดชิ้นงานขณะที่มีอุณหภูมิสูง เพราะค่าที่วัดได้อาจคลาดเคลื่อน
5.3การวัดในแนวแกรควรให้แหนวแกนของเครื่องมือวัดและของชิ้นงานทับกันเพราะถ้าแนวแกนทั้งสองไม่ทับกันจะทำให้ค่าที่วัดได้คลาดเคลื่อนไป
5.4 แรงกดระหว่างปากวัดหรือก้านวัดลึกจะต้องใช้แรงกดที่พอเหมาะ ถ้าใช้แรงกดไม่พอเหมาะค่าที่วัดจะคลาดเคลื่อนไป ถ้าใช้แรงกดมากเกินไปอาจจะทำให้ก้านวัดลึกโก่ง หรือปากวัดของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์เสียหายได้
ไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer) เป็นเครื่องมือวัดละเอียดสำหรับนำไปใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากสามารถให้ค่าการวัดได้ละเอียดและมีความเที่ยงตรงสูงกว่าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ส่วนงานทางด้านช่างยนต์สามารถนำมาใช้เพื่อตรวจสอบขนาดของชิ้นส่วน เช่น วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกสูบ สลักลูกสูบ ข้อหลักและข้อก้านของเพลาข้อเหวี่ยง ความหนาของจานดิสก์เบรก เป็นต้น
ไมโครมิเตอร์วัดนนอกมีหลายขนาดและถูกออกแบบให้เลือกใช้ได้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงานแต่ละอันมีช่วงการวัดได้เพียง 25 มิลลิเมตร (มม.) เท่านั้น โดยมีขนาดตั้งแต่ 0-25 มิลลิเมตร,25-50 มิลลิเมตร,50-75 มิลลิเมตร,75-100 มิลลิเมตร,100-125 มิลลิเมตร และ 125-150 มิลลิเมตร
1. แกนรับ (Anvil) ลักษณะแกนรับจะเป็นเพลากลมดันที่ด้านปลายทำจากเหล็กคาร์ไบด์เพื่อเสริมให้เกิดความแข็งแรงสำหรับป้องกันการสึกหรอจากการสัมผัสกับชิ้นงานที่ตรวจวัด แกนรับจะประกอบยึดติดกับโครงของไมโครมิเตอร์ด้วยการสวมอันเป็นชุดเดียวกัน
2. แกนวัด (Spindle) ลักษณะแกนวัดจะเหมือนแกนรับทุกประการ แกนจัดจะยึดติดกับสลักเกลียวเพื่อให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
3. โครง (Frame) มีลักษณะเหมือนตัวซี มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง มีไว้เพื่อนำชิ้นส่วนอื่นๆมาประกอบเป็นไมโครมิเตอร์และสำหรับจับเวลาตรวจวัดชิ้นงาน
4. ปุ่มล็อก (Thimble Lock) ทำหน้าที่สำหรับยึดแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่ เมื่อหมุนปลอกเลื่อนจนแกนวัดสัมผัสชิ้นงานถ้าต้องการไม่ให้แกนวัดเคลื่อนที่ให้ดันปุ่มล็อกไปทางซ้ายมือ เมื่อต้องการปลดให้ดันไปทางด้านตรงข้าม ปุ่มล็อกจะมี 2 แบบ คือ แบบใช้วงแหวนและแบบใช้กระเดื่อง
5. สเกลหลักหรือปลอกวัด (Sleeve) มีลักษณะเป้นทรงกระบอกสวมอยู่กับโครงสามารถปรับหมุนได้ ที่ผิวของสเกลหลักจะมีเส้นขีดยาวในแนวนอนเราเรียกว่า เส้นอ้างอิง (Index Line) ด้านบนและด้านล่างของเส้นอ้างอิงจะมีขีดแบ่งช่องเพื่อกำหนดค่าของสเกลหลัก
6. ปลอกเลื่อนหรือปลอกหมุนวัด (Thimble) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกสวมอยู่บนสเกลหลักและสามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้ ที่ปลายด้านในจะลาดเอียงและมีขีดแบ่งช่องเพื่อกำหนดค่าส่วนด้านนอกจะพิมพ์ลายเพื่อสะดวกในการหมุนเข้าออก
7. หัวหมุนกระทบ (Ratchet stop) จะอยู่ด้านท้ายสุดของแกนวัดเมื่อหมุนปลกเลื่อนสัมผัสชิ้นงานแล้ว ให้ปรับแกนวัดสัมผัสชิ้นงานได้พอดีและไม่ตึงเกินไป เราจะปรับหัวหมุนกระทบโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาซึ่งจะมีเสียงดังคลิกโดยให้เสียงดัง 2 – 3 คลิกเท่านั้น
2.1 ทำความสะอาดไมโครมิเตอร์โดยใช้ผ้าที่อ่อนนุ่มเช็ดฝุ่น คราบสกปรกบนโครง ปลอกเลื่อนรวมถึงแกนรับและแกนวัด
2.2 จัดตำแหน่งของแกนรับให้สัมผัสกับชิ้นงานให้สนิทเสียก่อน
2.3 ค่อยๆหมุนปลอกเลื่อนจนหน้าสัมผัสแกนวัดสัมผัสแกนวัดสัมผัสชิ้นงานและต้องตั้งฉากกับผิวงาน ที่จะวัดหมุนหัวหมุนกระทบจนมีเสียง 3 คลิก เพื่อให้ชิ้นงานแนบกับเครื่องมือ
2.4 ปรับปุ่มล็อกเพื่อไม่ให้แกนวัดเคลื่อนที่ จากนั้นอ่านค่าไมโครมิเตอร์
2. ค่าบนปลอกเลื่อน จากรูปที่ 4.11 บนปลอกเลื่อนจะแบ่งรอบขอบเอียงออกเป็น 50 ช่อง และทุกๆ5ช่องจะมีเลขกำกับไว้ คือ,0,5 ถึง 45 เมื่อหมุนปลอกเลื่อนครบ 1 รอบจะทำให้แกนวัดห่างจากจุดเดิมไป 0.5 มิลลิเมตร (ขีด 0 บนปลอกเลื่อนตรงกับเส้นอ้างอิงบนสเกลหลักพอดี) แต่ถ้าหมุนปลอกเลื่อนไปเพียง 1 ช่อง แกนวัดจะเคลื่อนที่ไปจากเติมเท่ากับ 0.01 มิลลิเมตร (1/100 มิลลิเมตร หรือ 1 ใน 100 ของมิลลิเมตร)
การอ่านค่าไมโครมิเตอร์ที่ได้จากการวัดให้อ่านจาก 3 ส่วน ดังนี้
1. อ่านค่าจำนวนเต็มซึ่งอยู่ด้านบนของสเกลหลักก่อน จากนั้นอ่านค่าทศนิยมในด้านล่างของสเกลหลัก
2. อ่านค่าจากปลอกเลื่อน
3. นำค่าจากสเกลหลักและปลอกเลื่อนมารวมกัน
จากรูปที่ 4.12 ขอบปลอกเลื่อนหมุนผ่านขีดบนสเกลหลักไป 1 ช่อง ดังนั้นอ่านค่าด้านบนสเกลหลักได้เท่ากับ 1.00 มิลลิเมตร
ขีดด้านล่างสเกลหลักยังไม่พ้นขอบขอบปลอกเลื่อน ดังนั้นไม่ต้องนำค่ามารวมกับค่าด้านบนสเกลหลัก
ดังนั้นค่าบนสเกลหลัก = 1.00 มิลลิเมตร
ดูเส้นอ้างอิงบนสเกลหลักตรงกับขีดที่เท่าไรบนปลอกเลื่อน และค่าที่อ่านได้จะเป็เลขจุทศนิยม จากรูปที่ 4.12 ขีดที่ 49 บนปลอกเลื่อนตรงกับเส้นอ้างอิงบนสเกลหลัก
ดังนั้นค่าบนปลอกเลื่อน = (49 x 0.01)
= 0.49 มิลลิเมตร
นำค่าบนสเกลหลักและปลอกเลื่อนมารวมกัน
ค่าที่อ่านได้จากไมโครมิเตอร์ = ค่าบนสเกลหลัก + ค่าบนปลอกเลื่อน
= 1.00 + 0.49
= 1.49 มิลลิเมตร
ไมโครมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดละเอียด ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ค่าที่ได้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ข้อควรระวังการใช้ไมโครมิเตอร์มีดังนี้
1. การวัดงานทีมีผิวขนานกันขณะวัดจะต้องให้แนวแกนของแกนรับและแกนวัดตั้งฉากกับผิวงาน
2. การวัดงานกลมทรงกระบอก ผิวงานกลมไม่สามารถบังคับผิวสัมผัสของแกนรับและแกนวัดให้ตั้งฉากกับผิวงานได้ ดังนั้นจะต้องปรับแนวแกนของไมโครมิเตอร์ให้ถูกต้อง ในกรณีที่ชิ้นงานกลมขนาดใหญ่จะต้องปรับให้แนวแกนวัดและแกนรับของไมโครมิเตอร์ผ่านจุดศูนย์กลางของชิ้นงาน
ไมโครมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดละเอียด ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ค่าที่ได้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ข้อควรระวังการใช้ไมโครมิเตอร์มีดังนี้
1. อย่านำไมโครมิเตอร์วัดงานที่ร้อนและขณะที่งานกำลังหมุนอยู่
2. ควรเก็บและวางไมโครมิเตอร์ยากออกจากเครื่องมือชนิดอื่น
3. ก่อนแกนวัดจะสัมผัสกับชิ้นงาน ให้หมุนปลอกเลื่อนช้าๆ และเมื่อสัมผัสให้ใช้หัวหมุนกระทบ
4. เมื่อเลิกใช้ไมโครมิเตอร์ต้องเช็ดทำความสะอาดและชโลมส่วนที่ขัดมันด้วยวาสลิน หรือนำไปแช่น้ำมันไว้
5. อย่าดึงไมโครมิเตอร์ออกจากชิ้นงานมาอ่านค่าโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ผิวหนังสัมผัสของแกนรับและแกนวัดสึกหรอ
6. เลือกใช้ไมโครมิเตอร์ให้มีขนาดเหมาะสมกับงาน เช่น ไมโครมิเตอร์ขนาด 50-75 มิลลิเมตรใช้วัดงาน 60 มิลลิเมตร ห้ามใช้วัดงานที่มีขนาด 78 มิลลิเมตร
7. ควรตรวจสอบหน้าสัมผัสของแกนรับและแกนวัดอยู่เสมอ
8. หลังจากใช้ปุ่มล็อกยึดแกนวัดแล้ว อย่าลืมปลดปุ่มเลือกเมื่อจะใช้งานครั้งต่อไป
ไดแอลเกจหรือเรียกอย่างหนึ่งว่านาฬิกาวัด เป็นเครื่องมือวัดพร้อมเข็มและหัวรัด ซึ่งเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ในงานด้านช่างยนต์จะนำมาใช้สำหรับวัดค่าความคลาดเคลื่อนของชิ้นส่วน เช่น วัดระยะรุนของเพลาข้อเหวี่ยง วัดความโค้งงอของเพลา วัดระยะห่างฟันเฟือง เป็นต้น
ไดแอลเกจจะต้องใช้ร่วมกับฐานหรือขาตั้ง ซึ่งขาตั้งจะมีอยู่ 2 ชนิด คือแบบฐานยึดเป็นแม่เหล็กและแบบไม่เป็นแม่เหล็ก แบบฐานยึดเป็นแม่เหล็กจะใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วกว่าเพราะสามารถยึดติดกับพื้นที่เป็นโลหะโดยไม่ต้องใช้มือจับ ส่วนแขนยึดกับไดแอลเกจสามารถปรับได้หลายทิศทางเพื่อความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
ไดแอลเกจที่ใช้งานทางด้านช่างยนต์จะเป็นแบบอ่านค่าได้ 2 ทาง โดยเข็มจะเคลื่อนที่ไปทั้งด้านตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา เข็มยาวกับเข็มสั้นจะเคลื่อนที่สวนทางกันเมื่อแกนวัดยุบเข้าเข็มยาวจะเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกา ส่วนเข็มสั้นจะเคลื่อนที่ตรงข้าม ในทำนองเดียวกันถ้าแกนวัดยื่นออกเข็มยาวจะเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกา ส่วนค่าที่หน้าปัดจะแบ่งจากขีดศูนย์ทั้งสองด้านเท่ากัน ภายในไดแอลเกจจะประกอบด้วย เฟืองสะพานเฟืองขับและเฟืองตาม เพื่อเปลี่ยนการเคลื่อนที่ของแกนวัดเป็นกาวหมุนของเข็มบนหน้าปัด ส่วนประกอบของไดแอลเกจ (รูปที่ 4.15) จะประกอบด้วย เข็มวัดยาว เข็มวัดสั้น หน้าปัดสามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ใช้เพื่อปรับตั้งตำแหน่งศูนย์แกนวัด (Spindle) และหัววัด (Measuring head) ซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับชิ้นงานที่ต้องการวัด สามารถถอดเปลี่ยนให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่ต้องการจะวัดได้ เช่น แบบยาว ใช้สำหรับวัดชิ้นส่วนในพื้นที่จำกัด แบบล้อเลื่อนใช้วัดผิวโค้ง แบบโยกขึ้นลงใช้วัดชิ้นงานที่แกว่งไปมาไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง แบบแผ่นแบนใช้วัดผิวนูนของลูกสูบ เป็นต้น
2.1 ประกอบไดแอลเกจเข้ากับขาตั้ง และยึดขาตั้งในตำแหน่งที่มั่นคง
2.3 ปรับให้แกนวัดยุบเข้าไปประมาณ 2-3 มิลลิเมตร (สังเกตเข็มสั้น) จากนั้นปรับหน้าปัดให้เลขศูนย์ตรงกับเข็มยาว
2.4 หมุนชิ้นงานช้าๆ สังเกตการณ์แกว่งของเข็มบนหน้าปัด และอ่านค่า
การแข่งขีดสเกลของไดแอลเกจ
ไดแอลเกจที่นิยมใช้ในงานด้านช่างยนต์จะเป็นแบบ 2ทาง มีค่าความละเอียด 0.01 มิลลิเมตร (1/100 มิลลิเมตร) มีช่วงการวัด 10 มิลลิเมตร บนหน้าปัดของไดแอลเกจจะมีขีดสเกล อยู่ 2 ส่วน คือ
ขีดสเกลวงนอก ซึ่งเข็มยาวจะชี้ค่าที่ได้จากการวัด เข็มยาวหมุน 1 รอบ มีค่าเท่ากับ 1 มิลลิเมตร 1 ช่องเล็กมีค่าเท่ากับ 0.01 มิลลิเมตร
ขีดสเกลวงกลมเล็กด้านใน เข็มสั้นจะชี้ เข็มสั้นจะหมุนสวนทางกับเข็มยาว เมื่อเข็มยาวเคลื่อนที่ไป 1 รอบ เข็มสั้นจะเคลื่อนที่ไป 1 ขีดหรือ 1 มิลลิเมตร
หลักการอ่านค่าไดแอลเกจ
1. อ่านค่าตัวเลขบนหน้าปัด โดยสังเกตเข็มวัดยาว ถ้าเข็มเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกาเป็นค่าบวกและเข็มที่เคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกาจะเป็นค่าลบ
2. เมื่อได้ค่าจากการซื้อของเข็มแล้ว ให้ตรวจดูจำนวนรอบของเข็มชี้โดยดูจากหน้าปัด บอกจำนวนรอบของเข็มชี้ แล้วนำค่ามารวมกัน
3. ถ้าต้องการหาค่าความแตกต่าง ให้นำค่าตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกามาลบกันจะได้ค่าความแตกต่างของการสึกหรอหรือความโก่งงอ
4.1 อย่าทำให้ไดแอลเกจตก หล่นหรือกระกระแทกกับพื้น เพราะจะทำให้กลไกภายในเสียหาย
4.2 เก็บรักษาไดแอลเกจไม่ให้ถูกฝุ่นละอองและน้ำ
4.3 ห้ามใช้ลมเป่า หรือหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในไดแอลเกจ
4.4 ไม่เก็บไดแอลเกจปนกับเครื่องมือซ่อมทั่วไป
พลาสติกเกจ (Plastic Gauge) (รูปที่ 4.18) เป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะช่องว่างน้ำมันของชิ้นส่วนสองชิ้นที่ประกบและขันยึดด้วยนัต ส่วนมากนิยมนำมาใช้ตรวจสอบช่องว่างน้ำมันชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น ช่องว่างน้ำมันระหว่างเพลาข้อเหวี่ยงและประกับข้อหลัก เพลาข้อเหวี่ยงและประกับก้านสูบ เป็นต้น พลาสติกเกจจะมีลักษณะเป็นเส้นกลมเล็กๆ ผลิตมาจากพลาสติกอ่อนสอดอยู่ในซอง ที่ข้างซองบรรจุจะมีสเกลค่าขนาดความหนาเพื่อนำไปเปรียบเทียบค่าหลังจากตรวจวัด พลาสติกเกจที่ใช้งานจะมีทั้งหมด 3 สี โดยแต่ละสีจะแสดงช่องว่างการวัดที่แตกต่างกันดังนี้
สีเขียว ระยะช่องว่างการวัด 0.025 – 0.076 มิลลิเมตร
สีแดง ระยะช่องว่างการวัด 0.051 – 0.152 มิลลิเมตร
สีน้ำเงิน ระยะช่องว่างการวัด 0.102 – 0.229 มิลลิเมตร
การเลือกใช้ขนาดความหนาของพลาสติกเกจนั้นขึ้นอยู่กับค่ามาตรฐานของชิ้นงานที่ต้องการจะตรวจสอบพื้นผิวระหว่างที่จะวัดต้องถูกแยกออกก่อนและประกอบกลับไปยังตำแหน่งเดิมโดยมีพลาสติกเกจแทรกอยู่ตรงกลาง วิธีการใช้งานพลาสติกเกจให้ปฏิบัติดังนี้
1. ทั้งความความสะอาดพื้นผิวของแบริ่งและพื้นผิวของเครื่องยนต์ให้สะอาดด้วยผ้าสะอาด
2. ตัดพลาสติกเกจให้พอดีกับพื้นผิวที่ต้องการวัดและวางพลาสติกเกจลงบนชิ้นงาน
3. ประกอบชิ้นส่วนและขันนัตยึดให้ได้ค่าแรงบิดที่กำหนด
4. ถอดนัตยึดและประกับออก
5. ใช้ค่าสเกลจากข้างนอกของพลาสติกเกจเพื่อตรวจสอบความหนา โดยให้วัดความหนาจุดที่กว้างที่สุดของพลาสติกเกจ
1. เลือกขนาดของไมโครมิเตอร์วัดนอกให้อยู่ในช่วงของขนาดที่ตรวจสอบไว้
2. ติดตั้งไมโครมิเตอร์วัดนอกกับแท่นยึด (รูปที่ 4.26) ถ้าไม่มีแฟนจับยึดให้ใช้ปากกาจับชิ้นงานได้ โดยใช้ผ้ารองที่ปากของปากกาจับชิ้นงาน
3. ปรับตั้งไมโครมิเตอร์ให้ได้ค่าเท่ากับขนาดของชิ้นงานรวมกับแหวนปรับตั้ง จากนั้นล็อกแกนวัดของไมโครมิเตอร์วัดนอก
4. นำขุดหัววัดของเกจวัดกระบอกสูบเข้ากับไมโครมิเตอร์วัดนอกที่ปรับขนาดไว้ (แกนวัดของเกจวัดกระบอกสูบอยู่ตำแหน่งกึ่งกลางแนวเดียวกับแกนของไมโครมิเตอร์) (รูปที่ 4.27) จากนั้นโยกเกจวัดกระบอกสูบ สักเกตการเคลื่อนที่ของเข็มที่ไดแอลเกจจะมีค่าเพิ่มขึ้นให้หยุดการโยกและให้โยกกลับเข็มจะเคลื่อนที่กลับ ให้สังเกตตำแหน่งเข็มที่แคบที่สุด เมื่อได้ตำแหน่งแล้วให้หมุนหน้าปัดไดแอลเกจให้ขีดศูนย์ตรงกับเข็มยาว (รูปที่ 4.28) ดังนั้นตำแหน่งนี้คือที่ได้เท่ากับขนาดของชิ้นงานรวมกับแหวนปรับตั้ง
1. ทำความสะอาดชิ้นงาน
2. นำชุดหัววัดใส่เข้าไปในชิ้นงานที่ต้องวัด (ตามตำแหน่งที่ต้องการวัด โดยเอียงด้านแผ่นนำซึ่งยุบตัวได้เข้าไปก่อน (รูปที่ 4.29)
3. ยกเกจวัดกระบอกสูบขึ้นและลง ดังรูปที่ 4.30 เพื่อหาตำแหน่งที่แคบที่สุด (ก้านเสริมตั้งฉากกับพื้นผิวที่วัด) อ่านค่าในตำแหน่งที่เข็มของไดแอลเกจเคลื่อนที่แคบที่สุด
4. อ่านค่าที่ไดแอลเกจ ในขณะวัดให้สังเกตการณ์เคลื่อนที่ออกจากขีดศูนต์ของเข็มยาว (รูปที่ 4.31)
ถ้าเข็มยาวเคลื่อนที่จากขีดศูนย์ทวนเข็มนาฬิกา ให้นำค่าที่อ่านได้มาลบกับค่าที่ตั้งไว้
จากรูปที่ 4.32 สมมุติตั้งค่าที่เลขศูนย์ที่ 94.40 มิลลิเมตร เข็มยาวชี้ไปขีดที่ 5 ทางขวามือหรือตามเข็มนาฬิกา มีค่าเท่ากับ 0.05 มิลลิเมตร ให้นำค่าที่อ่านได้มาลบกับค่าที่ตั้งไว้ 94.40 มิลลิเมตร ดังนั้นจะได้เท่ากับ
= 94.40 – 0.05
= 94.35 มิลลิเมตร
2.1 เก็บเครื่องมือวัดแยกออกจากเครื่องมืออื่นๆ
2.2 อย่านำเครื่องมือวัดไปใกล้ที่ร้อนจัด เย็นจัด
2.3 อย่าทำเครื่องมือวัดหล่นพื้น
2.4 ทำความสะอาดและหล่อลื่นทุกครั้งหลังการใช้งาน
Vernier Callper = เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
Main Scale = สเกลหลัก
Vernier Scale = สเกลเลื่อน
Clamp screw = สกรูล็อก
Outside Callper Jaws = ปากวัดขนาดภายนอก
Fixed Jaw = ปากวัดตาย
Inside Caliper Jaws = ปากวัดขนาดภายใน
Depth Bar = ก้านวัดลึก
Outside Micrometer = ไมโครมิเตอร์วัดนอก
Anvil = แกนรับ
Spindle = แกนวัด
Frame = โครง
Thimble Lock = ปุ่มล็อก
Sleeve = สเกลหลักหรือปลอกวัด
Index Line = เส้นอ้างอิง
Ratchet stop = หัวหมุนกระทบ
Measuring head = หัววัด
Plastic gauge = พลาสติกเกจ
Dial Gauge = ไดแอลเกจหรือนาฬิกาวัด
Thimble = ปลอกเลื่อนหรือปลอกหมุนวัด
Cylinder Gauge = เกจวัดกระบอกสูบหรือไซลินเตอร์เกจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น